วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

วัฒนธรรมการจัดการของประเทศจีน

1. ข้อมูลทั่วไปของประเทศจีน


ประเทศจีนและประเทศเพื่อนบ้าน

ประเทศจีนตั้งอยู่ทางเอเชียตะวันออกซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของมหาสมุทรเอเชียแปซิฟิก  รูปร่างของประเทศคล้ายกับไก่  ประเทศจีนมีพื้นที่ทั้งหมด 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร

ประเทศจีนมีอาณาบริเวณติดกับประเทศอื่นถึง  14  ประเทศ
ทิศตะวันออก ติดกับ  เกาหลีเหนือ
ทิศใต้ ติดกับ  พม่า, ลาว และเวียดนาม
ทิศตะวันตก ติดกับ  อัฟกานิสถาน  และปากีสถาน
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับ  คาซัคสถาน,  กีรกีซสถาน และเทอร์กีซสถาน
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับ  อินเดีย,  เนปาล  และภูฏาน
ทิศเหนือ ติดกับ  รัสเซีย  และมองโกเลีย

ภูมิประเทศ

ประเทศจีนมีลักษณะทางภูมิประเทศเป็นเทือกเขา  ภูเขา  ที่ราบสูง  ที่ราบ  หุบเขา  ทะเลสาบ  ลุ่มแม่น้ำและทะเลทราย

ภูมิอากาศ

จีนภาคตะวันออกโดยเฉพาะชายฝั่งทะเลตั้งแต่เหนือจดใต้ได้รับอิทธิพลลมหนาวและลมมรสุม  ภาคตะวันตกได้รับอิทธิพลลมหนาวมากกว่า  และมีความร้อนจัด

ประชากร

จีนมีชนกลุ่มน้อยเป็นชนกลุ่มชาติพันธุ์ถึง 55 กลุ่ม  ส่วนชนกลุ่มใหญ่ของจีนเรียกตนเองว่า  “ฮั่น” ปัจจุบันประเทศจีนมีประชากรทั้งหมดประมาณ “1,350 ล้านคน”


โครงสร้างของสังคมจีน

โครงสร้างของระบบครอบครัวจีนยึดอุดมการณ์การสร้างครอบครัวใหญ่ตามอุดมการณ์ของขงจื๊อซึ่งคนจีนได้ยึดปฏิบัติมาหลายศตวรรษ  และยังมีอิทธิพลในสังคมจีนปัจจุบัน

โครงสร้างครอบครัวจีนตามอุดมการณ์ของขงจื๊อ

  • การใช้อำนาจเด็ดขาดของบิดา
  • การยึดถืออาวุโสเป็นหลัก
  • การเซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษ
  • สายสัมพันธ์อันลึกซึ้งที่มีขอบเขตครอบงำบุคคลทุกแง่มุมในครอบครัวทุกระดับชั้น
  • การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในด้านความมั่นคงของครอบครัวและการทำมาหากิน
ระบบครอบครัวได้สร้างเอกลักษณ์แก่อุปนิสัยของคนจีน  คือ  คนจีนส่วนใหญ่ค่อนข้างจะมีความอดกลั้น  มักยอมทนต่อสิ่งต่อต้านกดดันของครอบครัว  มีความรักพวกพ้องของตนเหนือสิ่งอื่นใด

    แหล่งกำเนิดของอารยธรรมจีน  

    แม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง/หวงเหอ)
    อาณาบริเวณของแม่น้ำฮวงโหเป็นแหล่งกำเนิดแรกของชนชาติจีนที่เรียกตัวเองว่า  “ฮว๋าเซี่ย”  บรรพบุรุษของจีนได้ใช้ประโยชน์จากการไหลเซาะของแม่น้ำแล้วนำพาดินที่อุดมสมบูรณ์มาใช้เพาะปลูกข้าวและธัญพืช  แล้วถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
    ในสมัยโบราณบริเวณแม่น้ำฮวงโหได้ถูกใช้ให้เป็นศูนย์กลางของการปกครอง  การค้า  และวัฒนธรรม


    แม่น้ำแยงซีเกียง  (ฉางเซียง)
    แม่น้ำแยงซีเกียงเป็นอีกจุดกำเนิดแรกของชนชาติจีน  ในยุคหลังสมัยราชวงศ์ถังบริเวณแม่น้ำฮวงโหเกิดสงคราม  บ้านเมืองวุ่นวาย  มีการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า  อากาศที่หนาวเย็นและแห้งแล้งทำให้ขาดแคลนปัจจัยต่างๆในการดำรงชีวิต  จึงทำให้ธุรกิจการค้าและวัฒนธรรมต่างๆอพยพย้ายลงมายังลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง   ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นใจกลางและเป็นหลักสำคัญในการผลิตอาหาร  ผ้าฝ้าย  และภาษีที่นา


    จีนยุคเก่า

    ราชวงศ์ในจีน

    1.  ราชวงศ์เซี่ย    ราชวงศ์แรกของจีนคือ  พระเจ้าอวี่ได้ก่อตั้งราชวงศ์เซี่ย  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จีนก็ได้พัฒนาเข้าสู่สังคมระบอบทาส 
    2. ราชวงศ์ซัง   ในช่วงราชวงศ์ซัง สัญลักษณ์ที่สำคัญคือ ตัวอักษรโบราณที่สลักไว้บนกระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์ที่ถูกใช้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเสี่ยงทาย   และวัฒนธรรมทองสัมฤทธิ์  ตั้งแต่สมัยนี้เป็นต้นมา จีนก็ได้พั 3. ราชวงศ์โจว
    3. ราชวงศ์โจว สมัยราชวงศ์โจวเป็นยุคเฟื่องฟูของการโต้แย้งและการประชดประชันความคิดของเหล่านักคิดจากร้อยสำนัก นักคิด/ปราชญ์ที่มีชื่อเสียง เช่น ขงจื๊อ, เม่งจื๊อ, เล่าจื๊อ, จวงจื่อ และซุนวู


    อารยธรรมสมัยราชวงศ์โจว
    แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น “โอรสแห่งสวรรค์” 

    • เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทางเป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม  เน้นความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของผู้คนในสังคมระหว่างจักรพรรดิกับราษฎร บิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน  เน้นความกตัญญู เคารพผู้อาวุโส ให้ความสำคัญกับครอบครัว   เน้นความสำคัญของการศึกษา
    • เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ที่มีแนวทาง  เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีรีตองใดใด  เน้นการปรับตัวเข้าหาธรรมชาติลัทธินี้มีอิทธิพลต่อศิลปิน กวี และจิตกรจีน  คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งพาทางใจของผู้คน


    4. ราชวงศ์ฉิน-ราชวงศ์ศักดินาแรกของจีน
    ฮ่องเต้องค์แรกของประเทศจีน  พระนามว่า “ฉินสื่อหวงตี้”  หรือ  “จิ๋นซีฮ่องเต้”  ราชวงศ์ฉินเป็นราชวงศ์ศักดินา ที่มีระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐเป็นเอกภาพราชวงศ์แรก
    นอกจากนี้จิ๋นซีฮ่องเต้ที่ได้ชื่อว่า  เป็นกษัติร์ที่เหี้ยมโหดได้ลงโทษบรรดาผู้เลื่อมใสในลัทธิขงจื๊อ  เพราะลัทธิขงจื๊อเชื่อว่ากษัตริย์ควรเป็นผู้มีคุณธรรม หากไม่มีคุณสมบัตินี้นับว่าไม่อยู่ในอาณัติของสวรรค์   ทำให้มีการเผาทำลายหนังสือของลัทธิขงจื๊อ   นักปราชญ์ก็ถูกประหารชีวิตจำนวนมาก


    5. ราชวงศ์ฮั่น
    ลัทธิขงจื๊อและสำนักปรัชญาขงจื๊อเป็นความคิดที่ราชวงศ์ต่างๆสมัยหลังราชวงศฮั่นได้ยึดถือปฎิบัติตาม  และในยุคนี้จีนได้มีการติดต่อกับต่างประเทศและการค้ากับประเทศเอเซียตะวันตกต่างๆด้วยเส้นทางสายไหม

    6. ราชวงศ์สุย
    เป็นราชวงศ์ที่มีอายุสั้นมาก จักรพรรดิสุยเหวินตี้ได้สร้างคุณูปการอันยิ่งใหญ่หลายด้าน เช่น จัดตั้งระบบสอบจอหงวนซึ่งเป็นวิธีการคัดเลือกข้าราชการแบบใหม่


    7. ราชวงศ์ถัง
    ราชวงศ์ที่มีอำนาจและเจริญรุ่งเรืองที่สุด  ยาวนานถึง 290 ปี เป็นยุคที่มีศิลปวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์จีน  ทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า ศิลปวัฒนธรรม การก่อสร้าง การทหาร มีการติดต่อกับต่างชาติเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ

    8. ราชวงศ์ซ่ง
    ในสมัยราชวงศ์ซ่งเริ่มมีศาสนาต่างๆแพร่หลายเข้าสู่จีน โดยเฉพาะ ศาสนาเต๋า ศาสนาพุทธตลอดจนศาสนาอื่นที่เข้าสู่จีนจากต่างประเทศก็แพร่หลายมาก

    9.  ราชวงศ์หยวน
    กุบไลข่าน(ชาวมองโกล) โค่นราชวงศ์ซ่งลง และตั้งกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวง  ทรงตั้งความหวังจะเป็นกษัตริย์ที่ดี ปกครองอย่างสุขุมรอบคอบ เอาใจใส่ประชาชน จึงสามารถชนะใจชาวจีนได้ 

    10. ราชวงศ์หมิง
     เศรษฐกิจการค้าได้พัฒนาเริ่มเป็นเค้าโครงของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ในช่วงต้นราชวงศ์หมิง จีนมีที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ไม่มีเจ้าของจำนวนมากมาย จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้รวบรวมคนพเนจร ลดและงดภาษีอากรให้พวกเขา ทำให้จำนวนชาวนามีที่นาทำเองเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก

    11. ราชวงศ์ชิง
    จีนสมัยราชวงศ์ชิงยังคงเป็นประเทศเกษตรกรรม ในด้านวัฒนธรรมและความคิด ราชวงศ์ชิงยังคงส่งเสริมหลักการและคำสอนต่างๆของสังคมศักดินาที่สืบทอดกันมา เพื่อพิทักษ์การปกครองของจักรพรรดิ   ในยุคนี้ไม่มีความสัมพันธ์ด้านต่างประเทศเนื่องจากจีนปิดประเทศเป็นเวลานาน



    ในค.ศ.1840 เกิดสงครามฝิ่นขึ้น การรุกรานของจักวรรดินิยมต่างประเทศบีบ บังคับให้ราชสำนักชิงต้องลงนามสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ ทำให้สังคมจีนค่อยๆกลายเป็นสังคมกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา ประชาชนจีนมีความเดือดร้อนทุกข์ยาก จึงก่อการเคลื่อนไหวต่อต้านจักรวรรดินิยมและศักดินานิยมต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวไท่ผิงเทียนกั๋ว ซึ่งเป็นกบฎชาวนา   แต่ต้องประสบความล้มเหลวในที่สุด
    ในปีค.ศ.1911 การปฏิวัติซินไฮ่ ดร.ซุนยัดเซ็นเป็นผู้นำได้โค่นล้มการปกครองของราชวงศ์ชิง และสิ้นสุดสังคมศักดินาจีนซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์จีนได้เข้าสู่ยุคใหม่


    จีนยุคใหม่ 

    การสถาปนาระบอบสาธารณรัฐประชาชนจีน(ค.ศ. 192-1949)
    เหตุผลที่ผู้นำคอมมิวนิสต์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนที่มีความสำนึกในทางการเมืองสูง
    1. การรุกรานของญี่ปุ่น
    2. สภาพเสื่อมโทรมทางสังคมและเศรษฐกิจ


    ยุคการฟื้นฟูและบูรณะเศรษฐกิจของจีน (1949-ปัจจุบัน)
    จีนได้ฟื้นฟูบูรณะโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ฟื้นฟูการผลิตทางการเกษตร  และการฟื้นฟูเสถียรภาพของราคา  นอกจากนี้ยังนำเอาระบบเงินตราที่เป็นระบบเดียวกันมาใช้  และได้กระตุ้นโครงการพัฒนาต่างๆ  ซึ่งได้แปลงรูปประเทศเก่าที่ยากจนและล้าหลังถึงที่สุด  ไปเป็นสังคมแบบสังคมนิยมที่กำลังบุกบั่นก้าวไปสู่ความมั่งคั่ง


    การวิเคราะห์วัฒนธรรมการจัดการของประเทศจีนตามทฤษฎี แนวคิดวัฒนธรรมการจัดการของ Prof.Hofstede

    มิติที่ 1 ช่องว่างของอำนาจ
    จากประวัติศาสตร์ของจีนสะท้อนให้เห็นได้ว่า  ช่องว่างของอำนาจในองค์กรที่เป็นวัฒนธรรมการจัดการแบบจีนจะอยู่ในระดับที่สูง  เนื่องจากว่า  ชาวจีนมีวัฒนธรรมการจัดการที่เคารพผู้อาวุโส  ผู้มีอำนาจตำแหน่งหน้าที่ที่สูงกว่า  ความเป็นเจ้านายกับลูกน้องจึงมีสูง  นอกจากนี้ยังมีระบบครอบครัวหรือเครือญาติในการทำงานด้วย 


    มิติที่  2  ความเป็นส่วนตัวและความเป็นกลุ่ม
    ชาวจีนจะมีมิติความเป็นปัจเจกชนอยู่ในระดับต่ำ  เนื่องจากว่าชาวจีนจะให้ความสำคัญกับกลุ่มหรือส่วนรวม  โดยการทำงานจะเป็นไปในลักษณะที่ใช้ความเป็นเครือญาติ  หรือการใช้ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากกว่าการใช้ความสามารถของตนเองดังเช่นคนตะวันตก


    มิติที่  3  ความสำคัญของเพศชายมากกว่าเพศหญิง

    จากการวิเคราะห์พบว่าสังคมจีนจะให้ความสำคัญกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง  ซึ่งได้รับอิทธิพลจากหลักคำสอนของลัทธิขงจื๊อ ที่เชื่อว่า ลูกชาย คือผู้เลี้ยงดูพ่อแม่    และลูกชาย คือผู้สืบทอดตระกูล


      มิติที่  4  การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน
    สำหรับชาวจีนแล้วในมิตินี้จะอยู่ในระดับที่ต่ำ  เนื่องจากว่าโดยปกติแล้วลักษณะนิสัยของคนจีนจะเป็นคนขยัน  อดทน  ประหยัดอดออม  ใฝ่รู้  ชอบสังเกต  ทำให้คนจีนไม่กลัวความเสี่ยงในการทำงาน  สามารถแยกตัวออกไปหางานใหม่ได้เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม


    มิติที่  5  ช่องห่างของระยะเวลา
    จากการที่ชาวจีนให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  ความเป็นเครือญาติ  ครอบครัว เน้นความสัมพันธ์ที่ยาวนานในการทำงาน  จึงส่งผลให้มิติช่องห่างของระยะเวลาของจีนอยู่ในระดับที่สูง  



     การวิเคราะห์ลักษณะการจัดการของประเทศจีน


    1. วัฒนธรรมการจัดการธุรกิจเป็นแบบครอบครัวโดยมีพ่อเป็นใหญ่ในครอบครัว และมีการจ้างงานบุคลากรที่เป็นสมาชิกที่อยู่ในตระกูลหรือแซ่เดียวกันเป็นหลัก


    2. วัฒนธรรมการจัดการที่มีการควบคุมธุรกิจด้วยผู้จัดการที่คนในครอบครัว เรียกว่า “หลงจู๊” มีหน้าที่ดูแลกิจการหรือดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการ โดยส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลในครอบครัว เช่น ลุง อา พี่ชายคนโต

    3. วัฒนธรรมการจัดการที่นับถือผู้อาวุโสที่มีอายุมากกว่าหรือทำงานนานกว่า ที่เป็นผลมาจากคำสอนในลัทธิขงจื๊อ ฉะนั้นในการทำงานคนจีนจึงนำวัฒนธรรมนี้ไปปรับใช้ในองค์กรด้วย

    4. วัฒนธรรมการจัดการที่มุ่งมั่นอย่างคนใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ชาวจีนจะส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรที่เป็นสมาชิกในครอบครัวและคนที่จ้างมาทำงานได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และทำงานได้ในทุกตำแหน่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจภาพใหญ่ของการทำธุรกิจนั่นเอง

    5. วัฒนธรรมการจัดการจัดการที่มีการทำงานแบบจดจำ สังเกตแล้วลงมือปฏิบัติ

    6. วัฒนธรรมการจัดการที่เน้นการทำงานหนัก ขยัน ประหยัด อดออม

    7. วัฒนธรรมการจัดการที่ยึดความสัมพันธ์ ชาวจีนส่วนใหญ่จะเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน หรือที่เรียกว่า “กวนซี” เข้ามาทำงานในองค์กรและการทำธุรกิจร่วมกันด้วย

    8. วัฒนธรรมการจัดการที่เป็นแบบกลุ่มพวก ชาวจีนยึดความสัมพันธ์เป็นหลัก ฉะนั้นชาวจีนจึงนิยมทำธุรกิจในกลุ่มคนที่รู้จักหรือมีความสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่

    9. วัฒนธรรมการจัดการที่มีวัฒนธรรมการรักษาใบหน้าส่งผลให้การทำงานของคนจีนหรือคนตะวันออกมักไม่แสดงความเห็นหรือขัดแย้งตรงๆ


    จากลักษณะ ลักษณะการจัดการของประเทศจีนทั้ง 9 ประการข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ชาวจีนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับคนในตระกูลหรือสายเลือดเดียวกันมากกว่าบุคคลภายนอกครอบครัว ทำให้การบริหารจัดการภายในองค์กรเป็นไปได้ง่าย และองค์กรธุรกิจจีนส่วนใหญ่จะมุ่งหวังแต่กำไรเป็นสำคัญจนเกิดปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรมต่างๆตามมา


    แต่อย่างไรก็ตามประเทศจีนได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาธุรกิจด้านจริยธรรม คุณธรรม โดยการหันมาให้ความสำคัญกับปรัชญาขงจื๊ออีกครั้ง โดยการนำหลักแนวคิดการทำธุรกิจที่เป็นแบบฉบับของคนจีน เรียกว่า “หยูซัง” ซึ่งเป็นการทำธุรกิจที่นักธุรกิจได้ผ่านการขัดเกลาจิตใจมาอย่างดี มีคุณสมบัติในการทำการค้า โดยมีภาพลักษณ์ภายในที่วางตนเสมือนเทพ ส่วนภาพลักษณ์ภายนอกวางตนเสมือนราชาผสมผสานกัน จรัสศรี จิรภาส (2550)


    ข้อเสนอแนะสำหรับการทำงานร่วมกับคนจีน


    การทำงานร่วมกับคนจีนควรปฏิบัติดังนี้
    1. ควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวจีนให้เข้าใจ เพื่อให้สามารถเข้าใจและปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องโดยไม่เกิดความขัดแย้งกัน
    2. ควรผูกมิตรก่อนที่จะทำธุรกิจร่วมกัน เพราะคนจีนชอบการพูดคุยเล็กๆ น้อยๆ และสร้างความคุ้นเคยก่อนที่จะเริ่มธุรกิจกับใคร
    3. รอยยิ้ม คนจีนมีวัฒนธรรมการรักษาใบหน้า จึงมักใช้รอยยิ้มเพื่อเป็นเครื่องมือในการเข้าสังคม
    4. ควรพูดช้าๆให้เขาฟังเข้าใจ เพราะคนจีนจะเห็นว่าการขอให้ผู้อื่นพูดซ้ำเป็นเรื่องที่ไม่สุภาพ
    5. ไม่ควรสร้างความเป็นกันเองเกินไป เพราะคนจีนจะเน้นเรื่องของการเคารพผู้อาวุโสเป็นหลัก และควรระมัดระวังการพูดจา การแสดงออก การแต่งกาย ระยะห่าง การใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน และภาษากายด้วย
    6. ในการทำงานร่วมกับชาวจีนควรฝึกฝนตนให้มีความกระตือรือร้น เพราะด้วยอุปนิสัยชาวจีนแล้วมักเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา รักษาเวลา และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น