วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มประเทศในกลุ่มอาเซียน

พม่า

-เป็นการละเมิดโดยภาครัฐ ใน พ.ศ. 2512 รัฐบาลพม่าดำเนินการปราบปรามทั้งประชาชนที่ เรียกร้องประชาธิปไตยและปราบปรามชนกลุ่มน้อยที่เรียกร้องสิทธิปกครองตนเอง รวมทั้งมีการกดขี่ชนกลุ่มน้อยด้วย

-พ.ศ. 2550 รัฐบาลพม่าได้ปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตย จนมีประชาชนเสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก และถูกคุมขังนับพันคน

-พ.ศ.2553 ได้มีการปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี แต่ยังมีนักโทษการเมืองอีกจำนวนมากที่ถูกคุม ขัง ซึ่งปัญหาสิทธิมนุษยชนของพม่าถูกโจมตีจากสังคมโลกมาโดยตลอด


  • ชนกลุ่มน้อยในพม่าเผชิญกับการปราบปรามและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น ชาวมอญ ชาวกระเหรี่ยง ถูกปราบปรามจะต้องอพยพหนีออกนอกประเทศมาอยู่ตามชายแดนไทย-พม่า เช่น ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

  • ชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในพม่าที่นับถือศาสนาฮินดูถูกกดขี่ ทั้งสิทธิในการนับถือศาสนา การศึกษา การไม่ได้รับสัญชาติพม่า การถูกไล่ที่อยู่อาศัย ทำให้ชาวโรฮิงญานับแสนอพยพหนีไปในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะในบังกลาเทศ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย 

  • ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีเข้ามาเมืองอย่างผิดกฎหมาย บางส่วนก็ถูกหลอกไปใช้แรงงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง บางส่วนถูกส่งไปอยู่ในค่ายผู้อพยพที่ไม่ได้รับการดูแลที่ดี บางส่วนก็ถูกส่งกลับพม่า ปัญหาผู้อพยพจากพม่านี้สร้างปัญหาให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาก และรัฐบาลเองก็ไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ

อาเซียนไม่ได้แสดงบทบาทชัดเจนในการเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน
เพราะอาเซียนมีหลักสำคัญที่เรียกว่า วิถีอาเซียน คือ การไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและ กัน หลักการนี้ทำให้ความเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนของพม่าเป็นไปด้วยความไม่กดดัน และ อาเซียนเองก็ไม่ต้องการแยกพม่าออกไปจากอาเซียนด้วยการแทรกแซงกิจการในพม่า เพราะ อาจจะส่งผลให้รัฐบาลพม่าปิดกั้นจากประเทศสมาชิกอาเซียน

อาเซียนถูกกดดันจากสังคมโลกและสหประชาชาติมากขึ้น 
อาเซียนจึงได้ออกแถลงการณ์ตำหนิการละเมิดสิทธิมนุษยชนเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น แต่ก็ไม่ สามารถดำเนินการอย่างใดกับพม่าได้ โดยเฉพาะข้อเสนอให้ขับไล่พม่าออกจากการเป็นประเทศ สมาชิกอาเซียน เพราะในกฎบัตรอาเซียนได้ตัดมาตรานี้ออกไปแล้ว


รัฐบาลพม่าจับกุมนางอองซาน ซูจี อีกครั้งในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2552 

อินโดนีเซียและไทยได้มีการแถลงการณ์ถึงรัฐบาลพม่า โดยอินโดนีเซียเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัว นางอองซาน ซูจี เช่นเดียวกับแถลงการณ์ของรัฐบาลไทย 

ต่อมารัฐบาลพม่าได้ยอมปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี นับเป็นนิมิตรหมายอันดีในการส่งเสริมสร้างสิทธิ มนุษยชนในพม่า การละเมิดสิทธิประชาชน 


ปัญหาการค้ามนุษย์ การกดขี่แรงงาน และการใช้แรงงานเด็ก 

ประชาคมอาเซียนมุ่งหวังจะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนด้อยโอกาส ส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสที่ดีให้แก่คนเหล่านี้ เพื่อลดปัญหาการค้ามนุษย์ในอาเซียนลง และเพื่อทำให้สิทธิมนุษยชนได้รับการเคารพและปฏิบัติอย่างจริงจังในทุกๆ ประเทศ ที่ผ่านมาประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีความร่วมมือกัน เช่น 
- การตั้งอนุกรรมการว่าด้วยปราบปรามการค้าเด็กและผู้หญิงในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อสร้าง ทัศนคติและการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรรค์ต่อประเด็นผู้อพยพโดยเฉพาะการให้ความคุ้มครอง สิทธิขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับกฎหมาย 
- มีการทำความตกลงร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อให้กลไกความร่วมมือ และส่งเสริมให้ เกิดความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ


กัมพูชา


ในรายงานปี ค.ศ.2007 ของผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติได้กล่าวถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาว่ามีการละเมิดที่ทำอย่างมีเจตนาและอย่างเป็นระบบ เพื่อที่รัฐบาลจะได้ครอบงำอำนาจไว้ เขายังชี้ให้เห็นการคอร์รัปชั่นอย่างโจ่งแจ้งกว้างขวาง และละเมิดระบบความยุติธรรมในประเทศซึ่งรวมอยู่ในกำมือของชนชั้นผู้ปกครอง ข้อตอบโต้ของฝ่ายรัฐบาลก็คือกล่าวหาว่า ตัวผู้แทนนั้น “โง่เง่า” และก่อกวนน่ารำคาญ เป็นพวกชอบสร้างปัญหาและชอบแต่จะเป็นพวกท่องเที่ยว และยังเรียกร้องให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง


ฟิลิปปินส์


หลังจากที่อาร์โรโยได้ล้มรัฐบาลของเอสตราด้าที่มาจากการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น โดยการกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่น โดยการนำประชาชนเดินขบวนเพื่อแสดงอำนาจและมีฝ่ายทหารคอยหนุนหลังคล้ายกับการทำปฏิวัติกลายๆ และได้รับการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2004 ซึ่งเธอจัดการเลือกตั้งชนิดที่มีการโกงการเลือกตั้ง และเอาเปรียบจนได้รับชัยชนะ รัฐบาลของเธอจึงมีปัญหาเรื่องความชอบธรรม จึงหวาดระแวง “อำนาจประชาชน” จะกลับมาเล่นงาน จึงต้องหันมาหาความสนับสนุนจากฝ่ายทหารเพื่อปกป้องเธอ ซึ่งด้วยวิธีง่ายๆจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน “เพื่อที่จะดำรงไว้ซึ่งสันติสุขของสาธารณชน ความสงบเรียบร้อย และความมั่นคง และเพื่อป้องกัน และจัดการกับการใช้ความรุนแรงอย่างไร้กฎหมาย”



นับตั้งแต่เธอได้รับการเลือกตั้ง คลื่นของฆาตกรรมนอกกฎหมายเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีผู้ถูกฆ่าล้างชีวิตมากกว่าผู้อพยพ ในจำนวนผู้เสียชีวิตเหล่านี้มีทั้งนักหนังสือพิมพ์ นักกิจกรรมสังคมประชาธรรม ผู้นำแรงงาน และนักการเมืองฝ่ายค้าน ผู้รายงานพิเศษของสภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติรายงานว่า ความรับผิดชอบจากการฆ่าล้างทำลายชีวิตเหล่านี้เกิดจากฝ่ายทหารทั้งสิ้น ซึ่งนี่ก็เป็นข้อสรุปโดยองค์กรประชาสังคม ด้านสิทธิมนุษยชนในยุโรป และในสหรัฐ แน่นอนว่าว่าฝ่ายทหารปฏิเสธข้อนี้ ทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐยอมรับว่า สายการบังคับบัญชาการฆ่าล้างงทำลายชีวิตเหล่านี้สาวไปถึงประธานาธิบดีนั่นเอง รัฐสภาครองเกรสขุ่นเคืองกับเรื่องนี้มาก เจ้าหน้าที่ของกระทรวงต่างประเทศที่ดูแลเรื่องนี้ ให้ปากคำกับคณะกรรมาธิการว่า “อาร์โรโยจะต้องหาทางยุติการข้องเกี่ยวใดๆกับการทำลายชีวิตโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัย” แต่ตอนท้ายปี ค.ศ.2007 ก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆที่จะเอาความรับผิดชอบกับเรื่องที่เป็นเบื้องหลังการฆ่าล้างทำลายชีวิตที่เกิดขึ้น



อินโดนีเซีย อาเซียน และ อีสติมอร์


กรณีของอีสติมอร์มักเป็นประเด็นเกาะติดอยู่กับความสัมพันธ์ในกรอบทวิภาคีของอินโดนีเซียอยู่เสมอ เรื่องนี้มีความสำคัญขึ้นมาใหม่หลังจากมีการฆาตกรรมหมู่ในเมืองดิลีในปี ค.ศ.1991 เมื่อกองทหารยิงกราดเข้าไปในขบวนงานศพจนมีผู้เสียชีวิตไปมากกว่าร้อยคน ทำให้ทั่วโลกเรียกร้องให้มีการลงโทษอินโดนีเซีย สถานการณ์ระหว่างประเทศสำหรับอินโดนีเซียเปลี่ยนไป หลังจากปี ค.ศ. 1999 เมื่อมีการลงประชามติของอีสติมอร์และกองทัพบกของอินโดนีเซียใช้ความรุนแรงขึ้นมากอีก


จากคำให้การของเจ้าหน้าที่ระกับอาวุโสของสหประชาชาติในอีสติมอร์ กล่าวว่าการทำลายล้างชีวิตมนุษย์และวัสดุต่างๆนั้น “เป็นการปฏิบัติการที่มีการวางแผนและปฏิบัติการภายใต้การชี้นำของกองทัพอินโดนีเซีย” การที่อาเซียนเพิกเฉยกับกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางรุนแรงในอีสติมอร์นั้นเป็นจุดเสี่ยงอยู่มากของความน่าเชื่อถือของอาเซียน ในฐานะที่ต้องถือว่าอาเซียนคือผู้ที่จะต้องดูแลรับใช้ด้านความมั่นคงและปลอดภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



มาเลเซีย

มาเลเซียเป็นเป้าหมายการโจมตีของกลุ่มนักกิจกรรมสิทธิมนุษยชนอยู่แล้วเนื่องจากการที่รัฐบาลนำเอาเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆมาใช้กับประชาชนของตน เช่น การลงโทษตามกฎหมายความมั่นคงภายในในการขับเคี่ยวกับนักการเมืองฝ่ายค้าน รัฐบาลเองไม่เคยสำนึกผิดต่อเรื่องนี้เลย ในบริบทของการเมืองในประเทศของมาเลเซียเองถูกเงื่อนไขทางประวัติสาสตร์กำหนดจากการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ความตึงเครียดเรื่องชาติพันธุ์และปัญหาท้าทายจากกลุ่มอิสลามดั้งเดิมที่ปะทะท้าทายผู้นำมุสลิมสายกลางที่ปกครองประเทศอยู่ ประชาธิปไตย แบบตะวันตกรวมถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนอื่นๆ ถูกมองว่าไม่เหมาะสมและมีศักยภาพในทางที่จะกระทบต่อความมั่นคงมาก นายกรัฐมนตรีมหาธีร์ เป็นนายกรัฐมนตรียืนยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นคนช่างพูดวิพากษ์วิจารณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนของตะวันตก โดยมองว่าเป็นรูปแบบของจักรวรรดินิยม การเมืองและวัฒนธรรม ที่กำหนดขึ้นเพื่อถ่วงการพัฒนาและความเสมอภาคของมาเลเซียนั่นเอง



เวียดนาม


เวียดนามมีพรรคการเมืองพรรคเดียวบริหารประเทศ ไม่ยินยอมให้มีการเมืองฝ่ายตรงข้ามและปฏิเสธเสรีขั้นพื้นฐาน ไม่ยอมให้มีกลุ่มสิทธิมนุษยชนในประเทศ หรือระดับนานชาติมาดำเนินการใดๆในประเทศ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2001  ประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพในเรื่องการนับถือศาสนาและสถานะของกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยกลายเป็นปัญหาร่วมที่ถูกตำหนิในประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ ไม่ใช่เพียงแต่ศาสนาคริสเตียน ลัทธิ Montagnard ที่เวียดนามพยายามกำหนดระเบียบวินัย การควบคุมทุกศาสนาก็ทำอย่างเข้มงวดมาก พรรคคอมมิวนิสต์ของเวียดนามเป็นพรรคที่ก่อตั้งไพร่พลให้อยู่ในกำกับขององค์การทางศาสนาที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการหกองค์กรด้วยกัน เพื่อให้แน่ใจว่าไพร่พลของพรรคจะดำเนินรอยตามนโยบายของพรรค และยอมเชื่อฟังด้วยดี


ทัศนะเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ในระดับภูมิภาค


แม้ทั้งที่ระบบเรื่องสิทธิที่สหประชาชาติกำหนดไว้นั้นจะกล่าวอ้างได้ว่าเป็นระบบสากล แต่ยังไม่มีทัศนะที่สอดคล้องกันในเรื่องสิทธิต่างๆที่เป็นทัศนะเดียวกันในระดับโลก หรือแม้แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

สำหรับชนชั้นปกครองระดับสูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนมาก มองว่าฝ่ายตะวันตกนั้นจะเน้นในเรื่องความเป็นสังคมประชาธรรม และสิทธิทางการเมืองในกรอบของความเป็นประชาธิปไตยว่าเป็นการแสดงออกถึงกระบวนการทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมในสังคมที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว 


แนวทัศนะของบรรดาผู้นำในอาเซียนมองว่าฝ่ายตะวันตกมองแต่เรื่องสิทธิเสรีภาพเพียงด้านเดียว โดยไม่คำนึงถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ  สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งก็ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตระหนักอย่างสมบูรณ์ต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความสำเร็จของปัจเจกชน 

ทัศนะสุดโต่งยิ่งไปกว่านั้นก็คือการมองฝ่ายตะวันตกรณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชน คล้ายกับลัทธิอาณานิคมใหม่ด้านการเมือง และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการกำหนดเงื่อนไขใช้กับการค้าและความช่วยเหลือที่นำมาเป็นฐานของการตัดสินเรื่องสิทธิมนุษยชน


คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน AICHR

กระบวนการทำร่างของปฎิญญาเริ่มจากตั้งคณะทำงาน และ นำเสนองานให้
"คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”
(ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights- AICHR) หรือ AICHR

จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยผู้นำอาเซียน ทั้ง ๑๐ ประเทศ ระหว่างการ
ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๕ ณ ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๒ 

  • ทำหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมสิทธิของประชาชนในภูมิภาคอาเซียน 
  • สมาชิก AICHR ประกอบด้วยผู้แทนของแต่ละประเทศ โดยคัดเลือกจากกรรมการสรรหาอิสระ 

AICHR ทำงานโดยมีการเชื่อมโยงประเด็นของ ๓ ส่วนหลักๆ คือ 

  • ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) 
  • กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
  • ตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในเรื่องอื่นๆ
กระบวนการการทำงานของ AICHR 

1).การเจรจา การทำความเข้าใจ ตีความหมาย ขยายความ และสร้างบริบทที่สอดคล้อง   
กับอาเซียน (Contextualization) 

2).การสร้างความครอบคลุม (Comprehensiveness) ซึ่งก็จะมีข้อจำกัดเรื่องการสร้าง
ความจำเพาะเจาะจงของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 

3).การสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือความใหม่ (Novelty) นอกจากนั้นก็จะต้องเป็นประเด็นที่
เป็นฉันทามติร่วมของประเทศสมาชิกทั้งหมด โดยมีการใช้เทคนิควิธีต่างๆ เช่น การทำงาน
ร่วมกับประเทศต่างๆ ที่มีความเห็นร่วมกัน (Consensus)


จุดประสงค์ของ AICHR 

1. เพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอาเซียน

2. เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนอาเซียนที่จะอยู่อย่างสันติ มีศักดิ์ศรี และ เจริญรุ่งเรือง

3. เพื่ออุทิศที่จะตระหนักถึงจุดประสงค์ของอาเซียนที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรอาเซียน
เพื่อที่จะสนับสนุนความมั่นคง ความเป็นมิตร ความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน 
ความปลอดภัย การทำมาหากิน สวัสดิการ และการมีส่วนร่วมของประชาชนอาเซียนในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน 

4. เพื่อสนับสนุนสิทธิมนุษยชนในบริบทของภูมิภาค รับรู้ถึงลักษณะเฉพาะทั้งระดับประเทศและระดับภูมิภาค เคารพในพื้นฐานทางศาสนา ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่แตกต่าง

5. เพื่อขยายความร่วมมือระดับภูมิภาคในลักษณะชื่นชมความพยายามระดับชาติและระดับนานาชาติในการสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชน

6. ยืนยันในมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติตามที่บัญญัติในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนา และส่วนสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติอื่นๆที่อาเซียนมีส่วนร่วม


สิ่งที่ท้าทายสำหรับ AICHR

  • หลักการการทำงานของอาเซียน เช่น การไม่แทรกแซงกิจการภายใน, หลักฉันทามติ(consensus), การมีมิตรภาพ (friendship) แต่ไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน 
  • หลายประเทศสมาชิกยังเป็นเผด็จการ และมีประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบจริงๆเพียงไม่กี่ประเทศ ทำให้อำนาจหน้าที่ของกลไกนี้ถูกตัดทอนจนไม่มีประสิทธิภาพ 
  • การสร้างความตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชน และ การตอบสนองต่อเรื่องการบังคับใช้(compulsory) ของหน่วย งานเฉพาะสาขา (sectoral body)

การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน

  • ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนได้กล่าวถึงประเด็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ซึ่งที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์ร่วมระบุว่า “อาเซียนจะเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ตามที่บัญญัติไว้อนุปริญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ”

  • หลายประเทศมีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่เพราะอาเซียนมีนโยบายไม่แทรกแซงการเมืองภายในของประเทศสมาชิก จึงทำให้การประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียนยากขึ้น ส่งผลให้อาเซียนไม่มีมาตรการชัดเจนในการจัดการประเทศสมาชิกที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

  • องค์กรระดับชาติด้านสิทธิมนุษยชนที่จัดตั้งขึ้นนี้เป็นเหมือนหมาเฝ้าบ้านที่ไม่มีเขี้ยวเล็บแต่อย่างใด มีอำนาจเพียงเล็กน้อยในการสืบสวนสอบสวน 


การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน

  • อาเซียนไม่มีอำนาจหน้าที่ซึ่งจะให้รัฐอื่นๆไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นเงื่อนไขของรัฐสมาชิกที่เข้ามาร่วมกับอาเซียนภายหลัง เช่น พม่า ลาว และกัมพูชา ประเทศเหล่านี้ควรจะต้องประสานงาน “วิธีการที่คล้ายคลึงกัน” ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งก็หมายความว่า ในทางปฏิบัตินั้นให้แต่ละรัฐบาลแสวงหาแนวทางของตนเอาเอง

  • การจัดตั้งองค์กรนี้เป็นประเด็นยอดเยี่ยมในร่างของกฎบัตร แต่ประเทศ CLMV (กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, และเมียนม่าร์) ต่างก็คัดค้านกลไก ด้านสิทธิมนุษยชนที่กำหนดไว้ในกฎบัตร ว่าไม่มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนให้สำหรับงานด้านการทูตของรัฐมนตรีในด้านสิทธิมนุษยชน 

  • รัฐที่เป็นรัฐอำนาจนิยมมีสิทธิคัดค้าน (Veto) เสียงเอกฉันท์ จึงเป็นไปได้ว่าเครื่องไม้เครื่องมือในการดำเนินการเรื่องสิทธิมนุษยชนจะไม่ได้รับการอนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลงปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศอาเซียนที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย 





THE ASEAN CHARTER โครงสร้างองค์กรและกลไกการดำเนินงานของอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)

เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียน โดยประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ
แต่ละประเทศอาเซียนต่างร่วมกันจัดทำกฎบัตรนี้ขึ้นเพื่อให้มีผลใช้บังคับภายในภูมิภาค ซึ่งในกฎบัตรดังกล่าวนี้ได้ประมวลบรรทัดฐาน กฎเกณฑ์ คุณค่าและเป้าหมายที่ชัดเจนของ อาเซียนเอาไว้เข้าด้วยกัน
ภาคีสมาชิกได้ร่วมลงนามในกฎบัตรอาเซียนในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 และได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551


องค์กรภายใต้กฎบัตรอาเซียน หมวดที่ 4


กล่าวถึงองค์กรต่างๆในอาเซียนว่ามีส่วนใดบ้างและมีการดำเนินงานอย่างไร 
    เนื้อหาในหมวดที่สี่ของกฎบัตรอาเซียนประกอบด้วย 

- ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน         - คณะมนตรีประสานงานอาเซียน




- คณะมนตรีประชาคมอาเซียน         - องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
  - เลขาธิการอาเซียนและสำนักงานเลขาธิการอาเซียน 
- คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน - สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ 

- องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน - มูลนิธิอาเซียน

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN summit)


  • ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนจะประกอบด้วยประมุขของรัฐสมาชิก หรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิก 
  • ทำหน้าที่เป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบายของอาเซียน โดยทำหน้าที่พิจารณาหารือ ให้แนวนโยบาย และตัดสินใจในประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุวัตถุประสงค์ของอาเซียน ในเรื่องสำคัญที่เป็นผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก 
  • มีหน้าที่ในการสั่งการให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในแต่ละคณะมนตรีที่เกี่ยวข้องให้จัดการประชุมเฉพาะกิจระหว่างรัฐมนตรี และหารือประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับอาเซียน
  • อนุมัติการจัดตั้งและการยุบองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขาและสถาบันอื่นๆ ของอาเซียน และแต่งตั้งเลขาธิการอาเซียน 
  • จัดประชุมสองครั้งต่อปี โดยให้รัฐสมาชิกซึ่งเป็นประธานอาเซียนเป็นเจ้าภาพ และ เรียกประชุมเมื่อมีความจำเป็น



คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Councils: ACC)


ให้คณะมนตรีประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และประชุมกันอย่างน้อยสองครั้งต่อปี และมีหน้าที่


  • เตรียมการประชุมของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน 
  • ประสานการดำเนินความตกลงและข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน 
  • ประสานงานกับคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่างๆ เพื่อเพิ่มความสอดคล้องกันของ นโยบาย ประสิทธิภาพ และความร่วมมือระหว่างกัน
  • ประสานการเสนอรายงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน ต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
  • พิจารณารายงานประจำปีของเลขาธิการอาเซียนเกี่ยวกับงานของอาเซียน
  • พิจารณารายงานของเลขาธิการอาเซียนเกี่ยวกับหน้าที่และการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการอาเซียนและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • เห็นชอบการแต่งตั้งและการพ้นจากหน้าที่ของรองเลขาธิการอาเซียน ตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการอาเซียน 
  • ปฏิบัติภารกิจอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตร


คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Councils)

คณะมนตรีประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 

  • คณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 
  • คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 
  • คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 

องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectorial ministerial Bodies) 

ประกอบด้วยองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาต่างๆ เช่น สาธารณสุข กลาโหม การศึกษา และอื่นๆ ประกอบด้วยรัฐมนตรีเฉพาะสาขา มีการปฏิบัติตามหน้าที่ ดังนี้


  • ดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรที่มีอยู่
  • อนุวัตความตกลงและข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่อยู่ในขอบข่ายการดำเนินงานของแต่ละองค์กร
  • เสริมสร้างความร่วมมือในสาขาของแต่ละองค์กรให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียนและการสร้างประชาคมอาเซียน
  • เสนอรายงานและข้อเสนอแนะต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียนของแต่ละองค์กร
เลขาธิการอาเซียนและสำนักงานเลขาธิการอาเซียน 
(Secretary-General of ASEAN and ASEAN secretariat)


  • สำนักงานเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศอาเซียนในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2519 
  • ทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆของสมาคม อาเซียน เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการตลอดจน สถาบันต่างๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียน 
  • การเลือกบุคคลมาเป็นเลขาธิการอาเซียนจะทำโดยการได้รับการแต่งตั้งโดยที่ประชุมสุดยอด อาเซียน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งห้าปี และไม่สามารถต่ออายุได้ 
  • ได้รับการเลือกจากรัฐสมาชิกอาเซียน บนพื้นฐานของการหมุนเวียนตามลำดับตัวอักษร
    Name
    Time
    Country
    Hartono Dharsono
    7 June 1976 – 18 February 1978
    Indonesia
    Umarjadi Notowijono
    19 February 1978 – 30 June 1978
    Indonesia
    Ali Abdullah
    10 July 1978 – 30 June 1980
    Malaysia
    Narciso G. Reyes
    1 July 1980 – 1 July 1982
    Philippines
    Chan Kai Yau
    18 July 1982 – 15 July 1984
    Singapore
    Phan Wannamethee
    16 July 1984 – 15 July 1986
    Thailand
    Roderick Yong
    16 July 1986 – 16 July 1989
    Brunei
    Rusli Noor
    17 July 1989 – 1 January 1993
    Indonesia
    Ajit Singh
    1 January 1993 – 31 December 1997
    Malaysia
    Rodolfo Severino Jr.
    1 January 1998 – 31 December 2002
    Philippines
    Ong Keng Yong
    1 January 2003 – 31 December 2007
    Singapore
    Surin Pitsuwan
    1 January 2008 – 31 December 2012
    Thailand

    Lê Lương Minh
    1 January 2013 – 31 December 2017
    Vietnam
หน้าที่ของเลขาธิการอาเซียน


  • ปฏิบัติหน้าที่ และ ความรับผิดชอบตามบทบัญญัติของกฎบัตร ตราสาร พิธีสารต่างๆ ตลอดจนแนวปฏิบัติของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง
  • อำนวยความสะดวก และสอดส่องดูแลความคืบหน้าให้เป็นไปตามข้อตกลง และข้อตัดสินใจของอาเซียน รวมทั้งเสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับงานของอาเซียนต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
  • เข้าร่วมในการประชุมต่างๆ ของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน คณะมนตรีประชาคมอาเซียน คณะมนตรีประสานงานอาเซียน และองค์กรระดับรัฐมนตรีของอาเซียนเฉพาะสาขา และการประชุมอาเซียนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • เสนอข้อคิดเห็นในวาระต่างๆ ของอาเซียน และ เข้าร่วมการประชุมกับภาคีภายนอกตามแนวนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบและตามอำนาจหน้าที่ที่เลขาธิการอาเซียนได้รับมอบหมาย และยังทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของอาเซียนด้วย


คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน 
(Committee of Permanent Representatives to ASEAN: CPR)


คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนมาจากการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศแต่งตั้งผู้แทนถาวรประจำอาเซียน 1 คน เป็นผู้แทนประจำที่สำนักงานใหญ่อาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีหน้าที่



  • สนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนและองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
  • ประสานงานกับสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ และองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาอื่นๆ
  • ติดต่อประสานงานกับเลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียนในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับงานของตน
  • อำนวยความสะดวกในส่วนของความร่วมมือของอาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอก และ
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่อาจกำหนดโดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียน

สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ หรือ กรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้


  • เป็นผู้ประสานงานกลางแห่งชาติ
  • เป็นผู้เก็บรักษาข้อสนเทศในเรื่องทั้งปวงเกี่ยวกับอาเซียน
  • ประสานงานระดับชาติเกี่ยวกับการดำเนินตามข้อตกลงของอาเซียน
  • ประสานงานและสนับสนุนการเตรียมการระดับชาติในการประชุมอาเซียน
  • ส่งเสริมอัตลักษณ์และความสำนึกเกี่ยวกับอาเซียนในระดับชาติ
  • มีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียน
  • สนับสนุนภารกิจและความร่วมมือต่างๆเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศสมาชิกนั้นๆ สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ

องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Body)

เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งขึ้นโดยความมุ่งประสงค์หลักการของกฎบัตรอาเซียนเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน 
มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามข้อกำหนดของที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของอาเซียน 

มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation)

มูลนิธิอาเซียนมีหน้าที่ ดังนี้

1). สนับสนุนเลขาธิการอาเซียน และดำเนินความร่วมมือกับองค์กรของอาเซียนที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียน 

2).ดำเนินการร่วมกันที่ใกล้ชิดระหว่างภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบต่อเลขาธิการอาเซียน ซึ่งต้องเสนอรายงานของมูลนิธิฯต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนผ่านคณะมนตรีประสานงานอาเซียน

หมวดที่ 5 องคภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน


องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน คือ รัฐสภา องค์กรภาคธุรกิจ สถาบันวิชาการ และองค์กรภาคประชาสังคม


1.อาเซียนจะความสัมพันธ์กับองคภาวะซึ่งสนับสนุนกฎบัตรอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การที่มีจุดประสงค์เดียวกับหลักการของอาเซียน

2. คณะกรรมการผู้แทนถาวรมีหน้าที่บัญญัติกฎการดำเนินงานและหลักเกณฑ์สำหรับการมีความสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการอาเซียน

3. องคภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียนอาจได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยโดย
      เลขาธิการอาเซียนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้แทนถาวร โดยไม่ต้องใช้   
      บทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขของกฎบัตรอาเซียน


กลไกอาเซียน : สิทธิมนุษยชน

“สิทธิมนุษยชน” หมายถึง สิทธิที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอน หรือ แจกให้กับผู้หนึ่งผู้ใดได้

สิทธิดังกล่าวนี้มีความเป็นสากลและความเป็นนิรันดรจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งยกร่างโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (Committee on Human Rights) ภายใต้องค์การสหประชาชาติเพื่อเป็นกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน 

สหประชาชาติได้มีมติรับรองเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทุกฉบับ ได้รับการพัฒนาและมาจากปฏิญญาสากลฉบับนี้ทั้งสิ้น และกลายเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนากฎหมายภายในประเทศของประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศ


ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Declaration on Human Rights) 

  • เป็นเอกสารสำคัญฉบับแรกที่ระบุถึงการคุ้มครองและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • เป็นแม่แบบสำหรับสร้างแผนงานและนโยบายเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ถือเป็นก้าวสำคัญเพราะมีระบุในกฎบัตรอาเซียน ภายใต้แผนงาน "เสาการเมืองและความมั่นคง" (Asean Socio-Cultural Community : ASCC) 
  • มีการลงนามรับรองปฏิญญานี้ในการประชุม สุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๒๑ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา 
  • เป็นหลักไมล์สำคัญที่แสดงให้เห็นความก้าวหน้าของภูมิภาคอาเซียน 
  • ใช้เพื่อเฝ้าสังเกตมาตรการปฏิบัติ มาตรการป้องกัน มาตรการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของกลุ่มประเทศอาเซียน
  • ไม่มีมาตรการปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เพียงพอ (แต่ละประเทศมีข้ออ้างในการละเลยมากกว่าที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน)  
  • มาตรา ๘ ของ ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน ระบุว่า การใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานจะถูกจำกัดก็ด้วยกฎหมายเท่านั้น ในวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้อื่น