วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มประเทศในกลุ่มอาเซียน

พม่า

-เป็นการละเมิดโดยภาครัฐ ใน พ.ศ. 2512 รัฐบาลพม่าดำเนินการปราบปรามทั้งประชาชนที่ เรียกร้องประชาธิปไตยและปราบปรามชนกลุ่มน้อยที่เรียกร้องสิทธิปกครองตนเอง รวมทั้งมีการกดขี่ชนกลุ่มน้อยด้วย

-พ.ศ. 2550 รัฐบาลพม่าได้ปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตย จนมีประชาชนเสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก และถูกคุมขังนับพันคน

-พ.ศ.2553 ได้มีการปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี แต่ยังมีนักโทษการเมืองอีกจำนวนมากที่ถูกคุม ขัง ซึ่งปัญหาสิทธิมนุษยชนของพม่าถูกโจมตีจากสังคมโลกมาโดยตลอด


  • ชนกลุ่มน้อยในพม่าเผชิญกับการปราบปรามและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น ชาวมอญ ชาวกระเหรี่ยง ถูกปราบปรามจะต้องอพยพหนีออกนอกประเทศมาอยู่ตามชายแดนไทย-พม่า เช่น ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

  • ชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในพม่าที่นับถือศาสนาฮินดูถูกกดขี่ ทั้งสิทธิในการนับถือศาสนา การศึกษา การไม่ได้รับสัญชาติพม่า การถูกไล่ที่อยู่อาศัย ทำให้ชาวโรฮิงญานับแสนอพยพหนีไปในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะในบังกลาเทศ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย 

  • ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีเข้ามาเมืองอย่างผิดกฎหมาย บางส่วนก็ถูกหลอกไปใช้แรงงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง บางส่วนถูกส่งไปอยู่ในค่ายผู้อพยพที่ไม่ได้รับการดูแลที่ดี บางส่วนก็ถูกส่งกลับพม่า ปัญหาผู้อพยพจากพม่านี้สร้างปัญหาให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาก และรัฐบาลเองก็ไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ

อาเซียนไม่ได้แสดงบทบาทชัดเจนในการเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน
เพราะอาเซียนมีหลักสำคัญที่เรียกว่า วิถีอาเซียน คือ การไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและ กัน หลักการนี้ทำให้ความเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนของพม่าเป็นไปด้วยความไม่กดดัน และ อาเซียนเองก็ไม่ต้องการแยกพม่าออกไปจากอาเซียนด้วยการแทรกแซงกิจการในพม่า เพราะ อาจจะส่งผลให้รัฐบาลพม่าปิดกั้นจากประเทศสมาชิกอาเซียน

อาเซียนถูกกดดันจากสังคมโลกและสหประชาชาติมากขึ้น 
อาเซียนจึงได้ออกแถลงการณ์ตำหนิการละเมิดสิทธิมนุษยชนเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น แต่ก็ไม่ สามารถดำเนินการอย่างใดกับพม่าได้ โดยเฉพาะข้อเสนอให้ขับไล่พม่าออกจากการเป็นประเทศ สมาชิกอาเซียน เพราะในกฎบัตรอาเซียนได้ตัดมาตรานี้ออกไปแล้ว


รัฐบาลพม่าจับกุมนางอองซาน ซูจี อีกครั้งในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2552 

อินโดนีเซียและไทยได้มีการแถลงการณ์ถึงรัฐบาลพม่า โดยอินโดนีเซียเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัว นางอองซาน ซูจี เช่นเดียวกับแถลงการณ์ของรัฐบาลไทย 

ต่อมารัฐบาลพม่าได้ยอมปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี นับเป็นนิมิตรหมายอันดีในการส่งเสริมสร้างสิทธิ มนุษยชนในพม่า การละเมิดสิทธิประชาชน 


ปัญหาการค้ามนุษย์ การกดขี่แรงงาน และการใช้แรงงานเด็ก 

ประชาคมอาเซียนมุ่งหวังจะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนด้อยโอกาส ส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสที่ดีให้แก่คนเหล่านี้ เพื่อลดปัญหาการค้ามนุษย์ในอาเซียนลง และเพื่อทำให้สิทธิมนุษยชนได้รับการเคารพและปฏิบัติอย่างจริงจังในทุกๆ ประเทศ ที่ผ่านมาประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีความร่วมมือกัน เช่น 
- การตั้งอนุกรรมการว่าด้วยปราบปรามการค้าเด็กและผู้หญิงในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อสร้าง ทัศนคติและการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรรค์ต่อประเด็นผู้อพยพโดยเฉพาะการให้ความคุ้มครอง สิทธิขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับกฎหมาย 
- มีการทำความตกลงร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อให้กลไกความร่วมมือ และส่งเสริมให้ เกิดความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ


กัมพูชา


ในรายงานปี ค.ศ.2007 ของผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติได้กล่าวถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาว่ามีการละเมิดที่ทำอย่างมีเจตนาและอย่างเป็นระบบ เพื่อที่รัฐบาลจะได้ครอบงำอำนาจไว้ เขายังชี้ให้เห็นการคอร์รัปชั่นอย่างโจ่งแจ้งกว้างขวาง และละเมิดระบบความยุติธรรมในประเทศซึ่งรวมอยู่ในกำมือของชนชั้นผู้ปกครอง ข้อตอบโต้ของฝ่ายรัฐบาลก็คือกล่าวหาว่า ตัวผู้แทนนั้น “โง่เง่า” และก่อกวนน่ารำคาญ เป็นพวกชอบสร้างปัญหาและชอบแต่จะเป็นพวกท่องเที่ยว และยังเรียกร้องให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง


ฟิลิปปินส์


หลังจากที่อาร์โรโยได้ล้มรัฐบาลของเอสตราด้าที่มาจากการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น โดยการกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่น โดยการนำประชาชนเดินขบวนเพื่อแสดงอำนาจและมีฝ่ายทหารคอยหนุนหลังคล้ายกับการทำปฏิวัติกลายๆ และได้รับการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2004 ซึ่งเธอจัดการเลือกตั้งชนิดที่มีการโกงการเลือกตั้ง และเอาเปรียบจนได้รับชัยชนะ รัฐบาลของเธอจึงมีปัญหาเรื่องความชอบธรรม จึงหวาดระแวง “อำนาจประชาชน” จะกลับมาเล่นงาน จึงต้องหันมาหาความสนับสนุนจากฝ่ายทหารเพื่อปกป้องเธอ ซึ่งด้วยวิธีง่ายๆจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน “เพื่อที่จะดำรงไว้ซึ่งสันติสุขของสาธารณชน ความสงบเรียบร้อย และความมั่นคง และเพื่อป้องกัน และจัดการกับการใช้ความรุนแรงอย่างไร้กฎหมาย”



นับตั้งแต่เธอได้รับการเลือกตั้ง คลื่นของฆาตกรรมนอกกฎหมายเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีผู้ถูกฆ่าล้างชีวิตมากกว่าผู้อพยพ ในจำนวนผู้เสียชีวิตเหล่านี้มีทั้งนักหนังสือพิมพ์ นักกิจกรรมสังคมประชาธรรม ผู้นำแรงงาน และนักการเมืองฝ่ายค้าน ผู้รายงานพิเศษของสภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติรายงานว่า ความรับผิดชอบจากการฆ่าล้างทำลายชีวิตเหล่านี้เกิดจากฝ่ายทหารทั้งสิ้น ซึ่งนี่ก็เป็นข้อสรุปโดยองค์กรประชาสังคม ด้านสิทธิมนุษยชนในยุโรป และในสหรัฐ แน่นอนว่าว่าฝ่ายทหารปฏิเสธข้อนี้ ทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐยอมรับว่า สายการบังคับบัญชาการฆ่าล้างงทำลายชีวิตเหล่านี้สาวไปถึงประธานาธิบดีนั่นเอง รัฐสภาครองเกรสขุ่นเคืองกับเรื่องนี้มาก เจ้าหน้าที่ของกระทรวงต่างประเทศที่ดูแลเรื่องนี้ ให้ปากคำกับคณะกรรมาธิการว่า “อาร์โรโยจะต้องหาทางยุติการข้องเกี่ยวใดๆกับการทำลายชีวิตโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัย” แต่ตอนท้ายปี ค.ศ.2007 ก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆที่จะเอาความรับผิดชอบกับเรื่องที่เป็นเบื้องหลังการฆ่าล้างทำลายชีวิตที่เกิดขึ้น



อินโดนีเซีย อาเซียน และ อีสติมอร์


กรณีของอีสติมอร์มักเป็นประเด็นเกาะติดอยู่กับความสัมพันธ์ในกรอบทวิภาคีของอินโดนีเซียอยู่เสมอ เรื่องนี้มีความสำคัญขึ้นมาใหม่หลังจากมีการฆาตกรรมหมู่ในเมืองดิลีในปี ค.ศ.1991 เมื่อกองทหารยิงกราดเข้าไปในขบวนงานศพจนมีผู้เสียชีวิตไปมากกว่าร้อยคน ทำให้ทั่วโลกเรียกร้องให้มีการลงโทษอินโดนีเซีย สถานการณ์ระหว่างประเทศสำหรับอินโดนีเซียเปลี่ยนไป หลังจากปี ค.ศ. 1999 เมื่อมีการลงประชามติของอีสติมอร์และกองทัพบกของอินโดนีเซียใช้ความรุนแรงขึ้นมากอีก


จากคำให้การของเจ้าหน้าที่ระกับอาวุโสของสหประชาชาติในอีสติมอร์ กล่าวว่าการทำลายล้างชีวิตมนุษย์และวัสดุต่างๆนั้น “เป็นการปฏิบัติการที่มีการวางแผนและปฏิบัติการภายใต้การชี้นำของกองทัพอินโดนีเซีย” การที่อาเซียนเพิกเฉยกับกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางรุนแรงในอีสติมอร์นั้นเป็นจุดเสี่ยงอยู่มากของความน่าเชื่อถือของอาเซียน ในฐานะที่ต้องถือว่าอาเซียนคือผู้ที่จะต้องดูแลรับใช้ด้านความมั่นคงและปลอดภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



มาเลเซีย

มาเลเซียเป็นเป้าหมายการโจมตีของกลุ่มนักกิจกรรมสิทธิมนุษยชนอยู่แล้วเนื่องจากการที่รัฐบาลนำเอาเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆมาใช้กับประชาชนของตน เช่น การลงโทษตามกฎหมายความมั่นคงภายในในการขับเคี่ยวกับนักการเมืองฝ่ายค้าน รัฐบาลเองไม่เคยสำนึกผิดต่อเรื่องนี้เลย ในบริบทของการเมืองในประเทศของมาเลเซียเองถูกเงื่อนไขทางประวัติสาสตร์กำหนดจากการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ความตึงเครียดเรื่องชาติพันธุ์และปัญหาท้าทายจากกลุ่มอิสลามดั้งเดิมที่ปะทะท้าทายผู้นำมุสลิมสายกลางที่ปกครองประเทศอยู่ ประชาธิปไตย แบบตะวันตกรวมถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนอื่นๆ ถูกมองว่าไม่เหมาะสมและมีศักยภาพในทางที่จะกระทบต่อความมั่นคงมาก นายกรัฐมนตรีมหาธีร์ เป็นนายกรัฐมนตรียืนยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นคนช่างพูดวิพากษ์วิจารณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนของตะวันตก โดยมองว่าเป็นรูปแบบของจักรวรรดินิยม การเมืองและวัฒนธรรม ที่กำหนดขึ้นเพื่อถ่วงการพัฒนาและความเสมอภาคของมาเลเซียนั่นเอง



เวียดนาม


เวียดนามมีพรรคการเมืองพรรคเดียวบริหารประเทศ ไม่ยินยอมให้มีการเมืองฝ่ายตรงข้ามและปฏิเสธเสรีขั้นพื้นฐาน ไม่ยอมให้มีกลุ่มสิทธิมนุษยชนในประเทศ หรือระดับนานชาติมาดำเนินการใดๆในประเทศ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2001  ประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพในเรื่องการนับถือศาสนาและสถานะของกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยกลายเป็นปัญหาร่วมที่ถูกตำหนิในประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ ไม่ใช่เพียงแต่ศาสนาคริสเตียน ลัทธิ Montagnard ที่เวียดนามพยายามกำหนดระเบียบวินัย การควบคุมทุกศาสนาก็ทำอย่างเข้มงวดมาก พรรคคอมมิวนิสต์ของเวียดนามเป็นพรรคที่ก่อตั้งไพร่พลให้อยู่ในกำกับขององค์การทางศาสนาที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการหกองค์กรด้วยกัน เพื่อให้แน่ใจว่าไพร่พลของพรรคจะดำเนินรอยตามนโยบายของพรรค และยอมเชื่อฟังด้วยดี


ทัศนะเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ในระดับภูมิภาค


แม้ทั้งที่ระบบเรื่องสิทธิที่สหประชาชาติกำหนดไว้นั้นจะกล่าวอ้างได้ว่าเป็นระบบสากล แต่ยังไม่มีทัศนะที่สอดคล้องกันในเรื่องสิทธิต่างๆที่เป็นทัศนะเดียวกันในระดับโลก หรือแม้แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

สำหรับชนชั้นปกครองระดับสูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนมาก มองว่าฝ่ายตะวันตกนั้นจะเน้นในเรื่องความเป็นสังคมประชาธรรม และสิทธิทางการเมืองในกรอบของความเป็นประชาธิปไตยว่าเป็นการแสดงออกถึงกระบวนการทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมในสังคมที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว 


แนวทัศนะของบรรดาผู้นำในอาเซียนมองว่าฝ่ายตะวันตกมองแต่เรื่องสิทธิเสรีภาพเพียงด้านเดียว โดยไม่คำนึงถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ  สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งก็ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตระหนักอย่างสมบูรณ์ต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความสำเร็จของปัจเจกชน 

ทัศนะสุดโต่งยิ่งไปกว่านั้นก็คือการมองฝ่ายตะวันตกรณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชน คล้ายกับลัทธิอาณานิคมใหม่ด้านการเมือง และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการกำหนดเงื่อนไขใช้กับการค้าและความช่วยเหลือที่นำมาเป็นฐานของการตัดสินเรื่องสิทธิมนุษยชน


คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน AICHR

กระบวนการทำร่างของปฎิญญาเริ่มจากตั้งคณะทำงาน และ นำเสนองานให้
"คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”
(ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights- AICHR) หรือ AICHR

จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยผู้นำอาเซียน ทั้ง ๑๐ ประเทศ ระหว่างการ
ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๕ ณ ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๒ 

  • ทำหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมสิทธิของประชาชนในภูมิภาคอาเซียน 
  • สมาชิก AICHR ประกอบด้วยผู้แทนของแต่ละประเทศ โดยคัดเลือกจากกรรมการสรรหาอิสระ 

AICHR ทำงานโดยมีการเชื่อมโยงประเด็นของ ๓ ส่วนหลักๆ คือ 

  • ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) 
  • กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
  • ตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในเรื่องอื่นๆ
กระบวนการการทำงานของ AICHR 

1).การเจรจา การทำความเข้าใจ ตีความหมาย ขยายความ และสร้างบริบทที่สอดคล้อง   
กับอาเซียน (Contextualization) 

2).การสร้างความครอบคลุม (Comprehensiveness) ซึ่งก็จะมีข้อจำกัดเรื่องการสร้าง
ความจำเพาะเจาะจงของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 

3).การสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือความใหม่ (Novelty) นอกจากนั้นก็จะต้องเป็นประเด็นที่
เป็นฉันทามติร่วมของประเทศสมาชิกทั้งหมด โดยมีการใช้เทคนิควิธีต่างๆ เช่น การทำงาน
ร่วมกับประเทศต่างๆ ที่มีความเห็นร่วมกัน (Consensus)


จุดประสงค์ของ AICHR 

1. เพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอาเซียน

2. เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนอาเซียนที่จะอยู่อย่างสันติ มีศักดิ์ศรี และ เจริญรุ่งเรือง

3. เพื่ออุทิศที่จะตระหนักถึงจุดประสงค์ของอาเซียนที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรอาเซียน
เพื่อที่จะสนับสนุนความมั่นคง ความเป็นมิตร ความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน 
ความปลอดภัย การทำมาหากิน สวัสดิการ และการมีส่วนร่วมของประชาชนอาเซียนในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน 

4. เพื่อสนับสนุนสิทธิมนุษยชนในบริบทของภูมิภาค รับรู้ถึงลักษณะเฉพาะทั้งระดับประเทศและระดับภูมิภาค เคารพในพื้นฐานทางศาสนา ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่แตกต่าง

5. เพื่อขยายความร่วมมือระดับภูมิภาคในลักษณะชื่นชมความพยายามระดับชาติและระดับนานาชาติในการสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชน

6. ยืนยันในมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติตามที่บัญญัติในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนา และส่วนสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติอื่นๆที่อาเซียนมีส่วนร่วม


สิ่งที่ท้าทายสำหรับ AICHR

  • หลักการการทำงานของอาเซียน เช่น การไม่แทรกแซงกิจการภายใน, หลักฉันทามติ(consensus), การมีมิตรภาพ (friendship) แต่ไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน 
  • หลายประเทศสมาชิกยังเป็นเผด็จการ และมีประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบจริงๆเพียงไม่กี่ประเทศ ทำให้อำนาจหน้าที่ของกลไกนี้ถูกตัดทอนจนไม่มีประสิทธิภาพ 
  • การสร้างความตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชน และ การตอบสนองต่อเรื่องการบังคับใช้(compulsory) ของหน่วย งานเฉพาะสาขา (sectoral body)

การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน

  • ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนได้กล่าวถึงประเด็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ซึ่งที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์ร่วมระบุว่า “อาเซียนจะเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ตามที่บัญญัติไว้อนุปริญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ”

  • หลายประเทศมีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่เพราะอาเซียนมีนโยบายไม่แทรกแซงการเมืองภายในของประเทศสมาชิก จึงทำให้การประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียนยากขึ้น ส่งผลให้อาเซียนไม่มีมาตรการชัดเจนในการจัดการประเทศสมาชิกที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

  • องค์กรระดับชาติด้านสิทธิมนุษยชนที่จัดตั้งขึ้นนี้เป็นเหมือนหมาเฝ้าบ้านที่ไม่มีเขี้ยวเล็บแต่อย่างใด มีอำนาจเพียงเล็กน้อยในการสืบสวนสอบสวน 


การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน

  • อาเซียนไม่มีอำนาจหน้าที่ซึ่งจะให้รัฐอื่นๆไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นเงื่อนไขของรัฐสมาชิกที่เข้ามาร่วมกับอาเซียนภายหลัง เช่น พม่า ลาว และกัมพูชา ประเทศเหล่านี้ควรจะต้องประสานงาน “วิธีการที่คล้ายคลึงกัน” ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งก็หมายความว่า ในทางปฏิบัตินั้นให้แต่ละรัฐบาลแสวงหาแนวทางของตนเอาเอง

  • การจัดตั้งองค์กรนี้เป็นประเด็นยอดเยี่ยมในร่างของกฎบัตร แต่ประเทศ CLMV (กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, และเมียนม่าร์) ต่างก็คัดค้านกลไก ด้านสิทธิมนุษยชนที่กำหนดไว้ในกฎบัตร ว่าไม่มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนให้สำหรับงานด้านการทูตของรัฐมนตรีในด้านสิทธิมนุษยชน 

  • รัฐที่เป็นรัฐอำนาจนิยมมีสิทธิคัดค้าน (Veto) เสียงเอกฉันท์ จึงเป็นไปได้ว่าเครื่องไม้เครื่องมือในการดำเนินการเรื่องสิทธิมนุษยชนจะไม่ได้รับการอนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลงปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศอาเซียนที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย 





THE ASEAN CHARTER โครงสร้างองค์กรและกลไกการดำเนินงานของอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)

เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียน โดยประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ
แต่ละประเทศอาเซียนต่างร่วมกันจัดทำกฎบัตรนี้ขึ้นเพื่อให้มีผลใช้บังคับภายในภูมิภาค ซึ่งในกฎบัตรดังกล่าวนี้ได้ประมวลบรรทัดฐาน กฎเกณฑ์ คุณค่าและเป้าหมายที่ชัดเจนของ อาเซียนเอาไว้เข้าด้วยกัน
ภาคีสมาชิกได้ร่วมลงนามในกฎบัตรอาเซียนในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 และได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551


องค์กรภายใต้กฎบัตรอาเซียน หมวดที่ 4


กล่าวถึงองค์กรต่างๆในอาเซียนว่ามีส่วนใดบ้างและมีการดำเนินงานอย่างไร 
    เนื้อหาในหมวดที่สี่ของกฎบัตรอาเซียนประกอบด้วย 

- ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน         - คณะมนตรีประสานงานอาเซียน




- คณะมนตรีประชาคมอาเซียน         - องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
  - เลขาธิการอาเซียนและสำนักงานเลขาธิการอาเซียน 
- คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน - สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ 

- องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน - มูลนิธิอาเซียน

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN summit)


  • ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนจะประกอบด้วยประมุขของรัฐสมาชิก หรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิก 
  • ทำหน้าที่เป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบายของอาเซียน โดยทำหน้าที่พิจารณาหารือ ให้แนวนโยบาย และตัดสินใจในประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุวัตถุประสงค์ของอาเซียน ในเรื่องสำคัญที่เป็นผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก 
  • มีหน้าที่ในการสั่งการให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในแต่ละคณะมนตรีที่เกี่ยวข้องให้จัดการประชุมเฉพาะกิจระหว่างรัฐมนตรี และหารือประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับอาเซียน
  • อนุมัติการจัดตั้งและการยุบองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขาและสถาบันอื่นๆ ของอาเซียน และแต่งตั้งเลขาธิการอาเซียน 
  • จัดประชุมสองครั้งต่อปี โดยให้รัฐสมาชิกซึ่งเป็นประธานอาเซียนเป็นเจ้าภาพ และ เรียกประชุมเมื่อมีความจำเป็น



คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Councils: ACC)


ให้คณะมนตรีประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และประชุมกันอย่างน้อยสองครั้งต่อปี และมีหน้าที่


  • เตรียมการประชุมของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน 
  • ประสานการดำเนินความตกลงและข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน 
  • ประสานงานกับคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่างๆ เพื่อเพิ่มความสอดคล้องกันของ นโยบาย ประสิทธิภาพ และความร่วมมือระหว่างกัน
  • ประสานการเสนอรายงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน ต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
  • พิจารณารายงานประจำปีของเลขาธิการอาเซียนเกี่ยวกับงานของอาเซียน
  • พิจารณารายงานของเลขาธิการอาเซียนเกี่ยวกับหน้าที่และการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการอาเซียนและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • เห็นชอบการแต่งตั้งและการพ้นจากหน้าที่ของรองเลขาธิการอาเซียน ตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการอาเซียน 
  • ปฏิบัติภารกิจอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตร


คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Councils)

คณะมนตรีประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 

  • คณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 
  • คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 
  • คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 

องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectorial ministerial Bodies) 

ประกอบด้วยองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาต่างๆ เช่น สาธารณสุข กลาโหม การศึกษา และอื่นๆ ประกอบด้วยรัฐมนตรีเฉพาะสาขา มีการปฏิบัติตามหน้าที่ ดังนี้


  • ดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรที่มีอยู่
  • อนุวัตความตกลงและข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่อยู่ในขอบข่ายการดำเนินงานของแต่ละองค์กร
  • เสริมสร้างความร่วมมือในสาขาของแต่ละองค์กรให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียนและการสร้างประชาคมอาเซียน
  • เสนอรายงานและข้อเสนอแนะต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียนของแต่ละองค์กร
เลขาธิการอาเซียนและสำนักงานเลขาธิการอาเซียน 
(Secretary-General of ASEAN and ASEAN secretariat)


  • สำนักงานเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศอาเซียนในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2519 
  • ทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆของสมาคม อาเซียน เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการตลอดจน สถาบันต่างๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียน 
  • การเลือกบุคคลมาเป็นเลขาธิการอาเซียนจะทำโดยการได้รับการแต่งตั้งโดยที่ประชุมสุดยอด อาเซียน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งห้าปี และไม่สามารถต่ออายุได้ 
  • ได้รับการเลือกจากรัฐสมาชิกอาเซียน บนพื้นฐานของการหมุนเวียนตามลำดับตัวอักษร
    Name
    Time
    Country
    Hartono Dharsono
    7 June 1976 – 18 February 1978
    Indonesia
    Umarjadi Notowijono
    19 February 1978 – 30 June 1978
    Indonesia
    Ali Abdullah
    10 July 1978 – 30 June 1980
    Malaysia
    Narciso G. Reyes
    1 July 1980 – 1 July 1982
    Philippines
    Chan Kai Yau
    18 July 1982 – 15 July 1984
    Singapore
    Phan Wannamethee
    16 July 1984 – 15 July 1986
    Thailand
    Roderick Yong
    16 July 1986 – 16 July 1989
    Brunei
    Rusli Noor
    17 July 1989 – 1 January 1993
    Indonesia
    Ajit Singh
    1 January 1993 – 31 December 1997
    Malaysia
    Rodolfo Severino Jr.
    1 January 1998 – 31 December 2002
    Philippines
    Ong Keng Yong
    1 January 2003 – 31 December 2007
    Singapore
    Surin Pitsuwan
    1 January 2008 – 31 December 2012
    Thailand

    Lê Lương Minh
    1 January 2013 – 31 December 2017
    Vietnam
หน้าที่ของเลขาธิการอาเซียน


  • ปฏิบัติหน้าที่ และ ความรับผิดชอบตามบทบัญญัติของกฎบัตร ตราสาร พิธีสารต่างๆ ตลอดจนแนวปฏิบัติของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง
  • อำนวยความสะดวก และสอดส่องดูแลความคืบหน้าให้เป็นไปตามข้อตกลง และข้อตัดสินใจของอาเซียน รวมทั้งเสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับงานของอาเซียนต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
  • เข้าร่วมในการประชุมต่างๆ ของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน คณะมนตรีประชาคมอาเซียน คณะมนตรีประสานงานอาเซียน และองค์กรระดับรัฐมนตรีของอาเซียนเฉพาะสาขา และการประชุมอาเซียนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • เสนอข้อคิดเห็นในวาระต่างๆ ของอาเซียน และ เข้าร่วมการประชุมกับภาคีภายนอกตามแนวนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบและตามอำนาจหน้าที่ที่เลขาธิการอาเซียนได้รับมอบหมาย และยังทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของอาเซียนด้วย


คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน 
(Committee of Permanent Representatives to ASEAN: CPR)


คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนมาจากการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศแต่งตั้งผู้แทนถาวรประจำอาเซียน 1 คน เป็นผู้แทนประจำที่สำนักงานใหญ่อาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีหน้าที่



  • สนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนและองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
  • ประสานงานกับสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ และองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาอื่นๆ
  • ติดต่อประสานงานกับเลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียนในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับงานของตน
  • อำนวยความสะดวกในส่วนของความร่วมมือของอาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอก และ
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่อาจกำหนดโดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียน

สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ หรือ กรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้


  • เป็นผู้ประสานงานกลางแห่งชาติ
  • เป็นผู้เก็บรักษาข้อสนเทศในเรื่องทั้งปวงเกี่ยวกับอาเซียน
  • ประสานงานระดับชาติเกี่ยวกับการดำเนินตามข้อตกลงของอาเซียน
  • ประสานงานและสนับสนุนการเตรียมการระดับชาติในการประชุมอาเซียน
  • ส่งเสริมอัตลักษณ์และความสำนึกเกี่ยวกับอาเซียนในระดับชาติ
  • มีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียน
  • สนับสนุนภารกิจและความร่วมมือต่างๆเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศสมาชิกนั้นๆ สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ

องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Body)

เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งขึ้นโดยความมุ่งประสงค์หลักการของกฎบัตรอาเซียนเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน 
มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามข้อกำหนดของที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของอาเซียน 

มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation)

มูลนิธิอาเซียนมีหน้าที่ ดังนี้

1). สนับสนุนเลขาธิการอาเซียน และดำเนินความร่วมมือกับองค์กรของอาเซียนที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียน 

2).ดำเนินการร่วมกันที่ใกล้ชิดระหว่างภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบต่อเลขาธิการอาเซียน ซึ่งต้องเสนอรายงานของมูลนิธิฯต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนผ่านคณะมนตรีประสานงานอาเซียน

หมวดที่ 5 องคภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน


องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน คือ รัฐสภา องค์กรภาคธุรกิจ สถาบันวิชาการ และองค์กรภาคประชาสังคม


1.อาเซียนจะความสัมพันธ์กับองคภาวะซึ่งสนับสนุนกฎบัตรอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การที่มีจุดประสงค์เดียวกับหลักการของอาเซียน

2. คณะกรรมการผู้แทนถาวรมีหน้าที่บัญญัติกฎการดำเนินงานและหลักเกณฑ์สำหรับการมีความสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการอาเซียน

3. องคภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียนอาจได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยโดย
      เลขาธิการอาเซียนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้แทนถาวร โดยไม่ต้องใช้   
      บทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขของกฎบัตรอาเซียน


กลไกอาเซียน : สิทธิมนุษยชน

“สิทธิมนุษยชน” หมายถึง สิทธิที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอน หรือ แจกให้กับผู้หนึ่งผู้ใดได้

สิทธิดังกล่าวนี้มีความเป็นสากลและความเป็นนิรันดรจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งยกร่างโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (Committee on Human Rights) ภายใต้องค์การสหประชาชาติเพื่อเป็นกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน 

สหประชาชาติได้มีมติรับรองเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทุกฉบับ ได้รับการพัฒนาและมาจากปฏิญญาสากลฉบับนี้ทั้งสิ้น และกลายเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนากฎหมายภายในประเทศของประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศ


ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Declaration on Human Rights) 

  • เป็นเอกสารสำคัญฉบับแรกที่ระบุถึงการคุ้มครองและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • เป็นแม่แบบสำหรับสร้างแผนงานและนโยบายเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ถือเป็นก้าวสำคัญเพราะมีระบุในกฎบัตรอาเซียน ภายใต้แผนงาน "เสาการเมืองและความมั่นคง" (Asean Socio-Cultural Community : ASCC) 
  • มีการลงนามรับรองปฏิญญานี้ในการประชุม สุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๒๑ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา 
  • เป็นหลักไมล์สำคัญที่แสดงให้เห็นความก้าวหน้าของภูมิภาคอาเซียน 
  • ใช้เพื่อเฝ้าสังเกตมาตรการปฏิบัติ มาตรการป้องกัน มาตรการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของกลุ่มประเทศอาเซียน
  • ไม่มีมาตรการปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เพียงพอ (แต่ละประเทศมีข้ออ้างในการละเลยมากกว่าที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน)  
  • มาตรา ๘ ของ ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน ระบุว่า การใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานจะถูกจำกัดก็ด้วยกฎหมายเท่านั้น ในวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้อื่น



วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

การจัดการข้ามวัฒนธรรมของประเทศเกาหลีใต้

ประเทศเกาหลี ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออก แม้จะเป็นเพียงแค่คาบสมุทรที่ยื่นออกไปในทะเล และมีขนาดพื้นที่ไม่กว้างนัก แต่ก็เป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้คาบสมุทรเกาหลีจึงมีร่องรอยของมนุษย์เข้ามาอาศัยอยู่ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว  อารยธรรมของเกาหลีเกิดขึ้นไล่เลี่ยกับอารยธรรมจีน จึงมีวัฒนธรรมศิลปะแขนงต่างๆที่ได้รับอิทธิพลจากจีน

ปัจจุบันคาบสมุทรเกาหลีแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเทศคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี หรือ เกาหลีเหนือ และสาธารณรัฐเกาหลี หรือเกาหลีใต้  ในอดีต ประเทศทั้ง 2 ถือเป็นประเทศหนึ่งเดียว นั้นคือประเทศเกาหลีที่ปกครองภายใต้ระบอบราชาธิราช แต่หลังจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีเดิมก็ถูกแบ่งเป็น 2 ประเทศดังที่กล่าวมา


ประวัติศาสตร์เกาหลี


จุดกำเนิดเกาหลีและอาณาจักรโซซอนโบราณ

ในยุคแรกดินแดนบนคาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ เผ่าแรกที่ปรากฏคือเผ่าโชซอนโบราณ ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือ เรืองอำนาจในช่วงพ.ศ. 143 – 243 ส่วนเผ่าอื่นได้แก่เผ่าพูยอ อยู่บริเวณปากแม่น้ำซุงคารีทางแมนจูเรียเหนือ เผ่าโกคูรยออยู่ระหว่างแม่น้ำพมาก และแม่น้ำอัมนูก เผ่าโอกจออยู่บริเวณมณฑลฮัมกยองเผ่าทงเยอยู่บริเวณมณฑลคังวอน และเผ่าสามฮั่นคือ มาฮั่น ชินฮั่น และพยอนฮั่น ที่อยู่บริเวณแม่น้ำฮั่นและแม่น้ำนักดงทางภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลี
ตำนานที่เป็นที่แพร่หลายในประเทศเกาหลีเล่าถึงกำเนิดของชนชาติตนว่า เจ้าชายฮวางวุง โอรสของเทพสูงสุดบนสวรรค์ลงมาสร้างเมืองที่ภูเขาแตแบกซาน ได้แต่งงานกับหญิงที่มีกำเนิดจากหมี มีโอรสชื่อตันกุน ต่อมาเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรโชซอนโบราณ เมื่อ 1790 ปีก่อนพุทธศักราช
ดินแดนคาบสมุทรเกาหลีตกเป็นเมืองขึ้นจีนเมื่อ พ.ศ. 434 เมื่อจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ หรือ กวนอู่ตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่น ยกทัพเข้ายึดครองดินแดนของอาณาจักรโชซอนโบราณ และแบ่งเกาหลีเป็น 4 มณฑล คืออาณาจักรนังนัง ชินบอน อิมดุน และฮยอนโท อย่างไรก็ตาม จีนปกครองมณฑลนังนังอย่างจริงจังเพียงมณฑลเดียว มณฑลอื่นๆจึงค่อยๆแยกตัวเป็นเอกราช จน พ.ศ. 856 ชนเผ่าโคกุรยอเข้ายึดครองมณฑลนังนัง ขับไล่จีนออกไปได้สำเร็จ การตกเป็นเมืองขึ้นของจีนทำให้เกาหลีได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนมาก เช่น ตัวอักษรและศาสนา (พุทธและขงจื้อ)


ยุคสามอาณาจักร


เมื่อเป็นเอกราชจากจีน ดินแดนเกาหลีในขณะนั้นแบ่งเป็น 3 อาณาจักรด้วยกันคือ

อาณาจักรโกคูรยอ ทางภาคเหนือ เผ่าโคกุรยอเริ่มเข้มแข็งมากขึ้นเมื่อราชวงศ์ฮั่นของจีนล่มสลาย และสามารถขยายอำนาจเข้ายึดครองมณฑลนังนังจากจีนได้เมื่อ พ.ศ. 856

อาณาจักรแพกเจ ชนเผ่าแพกเจซึ่งเป็นเผ่าย่อยของเผ่าพูยอที่อพยพลงใต้ เข้ายึดครองอาณาจักรอื่นรวมทั้งอาณาจักรเดิมของเผ่าฮั่น ตังเป็นอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 777

อาณาจักรชิลลา อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พัฒนาขึ้นจากเผ่าซาโร แต่อาณาจักรนี้ไม่เข้มแข็งมากนักในช่วงแรก ดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับอาณาจักรโคกุรยอ ตลอดจนกระทั่งหลังสงครามระหว่างอาณาจักรโคกุรยอกับแพกเจ อาณาจักรชิลลาจึงเข้มแข็งขึ้นเป็นลำดับ จนสามารถยึดครองลุ่มแม่น้ำฮั่นและลุ่มแม่น้ำนักดงจากอาณาจักรแพกเจได้





ยุคอาณาจักรเอกภาพ อาณาจักรซิลลา

เมื่ออาณาจักรชิลลาเข้มแข็งขึ้น อาณาจักแพกเจจึงหันไปผูกมิตรกับอาณาจักรโกคูรยอส่วนอาณาจักรชิลลาหันไปผูกมิตรกับราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังของจีน กองกำลังผสมระหวางจีนและชิลลายึดครองอาณาจักรแพกเจได้เมื่อ พ.ศ.1203 และยึดครองอาณาจักรโกคูรยอได้ใน พ.ศ.1211 โดนจีนเข้ามาปกครองอาณาจักรโกคูรยอในช่วงแรก ต่อมาอาณาจักรชิลลากับราชวงศ์ถังเกิดขัดแย้งกันอาณาจักรชิลลาจึงเข้ายึดอาณาจักรโกคูรยอจากจีนและเข้าปกครองคาบสมุทรเกาหลีอย่างเด็ดขาดเมื่อ พ.ศ.1278
อาณาจักรชิลลาเจริญสูงสุดในยุคกษัตริย์คยองตอก หลังจากนั้นได้เสื่อมลงโดยสาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งในหมู่เชื้อพระวงศ์และเกิดการปฏิวัติบ่อยครั้ง กลุ่มชาวนาและกลุ่มอำนาจท้องถิ่นที่รู้สึกว่าถูกกดขี่ได้รวมกำลังกันต่อต้านอำนาจรัฐ วังกอน ผู้นำกลุ่มต่อต้านคนหนึ่ง เข้ายึดอำนาจและสถาปนาราชวงศ์โครยอขึ้นเมื่อ พ.ศ.1478



เมื่ออาณาจักรชิลลาเข้มแข็งขึ้น อาณาจักแพกเจจึงหันไปผูกมิตรกับอาณาจักรโกคูรยอส่วนอาณาจักรชิลลาหันไปผูกมิตรกับราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังของจีน กองกำลังผสมระหวางจีนและชิลลายึดครองอาณาจักรแพกเจได้เมื่อ พ.ศ.1203 และยึดครองอาณาจักรโกคูรยอได้ใน พ.ศ.1211 โดนจีนเข้ามาปกครองอาณาจักรโกคูรยอในช่วงแรก ต่อมาอาณาจักรชิลลากับราชวงศ์ถังเกิดขัดแย้งกันอาณาจักรชิลลาจึงเข้ายึดอาณาจักรโกคูรยอจากจีนและเข้าปกครองคาบสมุทรเกาหลีอย่างเด็ดขาดเมื่อ พ.ศ.1278

อาณาจักรชิลลาเจริญสูงสุดในยุคกษัตริย์คยองตอก หลังจากนั้นได้เสื่อมลงโดยสาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งในหมู่เชื้อพระวงศ์และเกิดการปฏิวัติบ่อยครั้ง กลุ่มชาวนาและกลุ่มอำนาจท้องถิ่นที่รู้สึกว่าถูกกดขี่ได้รวมกำลังกันต่อต้านอำนาจรัฐ วังกอน ผู้นำกลุ่มต่อต้านคนหนึ่ง เข้ายึดอำนาจและสถาปนาราชวงศ์โครยอขึ้นเมื่อ พ.ศ.1478


ยุคอาณาจักรเหนือใต้



เมื่ออาณาจักรโกคูรยอและอาณาจักรแพกเจถูกอาณาจักรชิลลาตีจนแตกพ่ายไปนั้น มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งรวบรวมชาวบ้านที่เป็นชาวโกคูรยอที่ถูกทัพชิลลาโจมตีแล้วอพยพขึ้นเหนือ แล้วก่อตั้งอาณาจักรใหม่มีชื่อว่า อาณาจักรบัลแฮ แล้วทางใต้ก็มีอาณาจักรชิลลาที่รวมแผ่นดินของอาณาจักรโกคูรยอ อาณาจักรแพกเจ และอาณาจักรชิลลาเดิมเข้าด้วยกันแล้วเรียกว่า อาณาจักรชิลลา ในยุคนี้จึงมีสองอาณาจักรที่อยู่ทางเหนือคืออาณาจักรบัลแฮที่สืบต่อจากอาณาจักรโกคูรยอเดิม และทางใต้มีอาณาจักรชิลลาที่รวมอาณาจักรโกคูรยอเดิมอาณาจักรแพกเจเดิมและอาณาจักรชิลลาเดิมเข้าเป็นอาณาจักรเดียว จึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคอาณาจักรเหนือใต้



ยุคสามอาณาจักรหลัง


หลังจากอาณาจักรบัลแฮถูกราชวงศ์เหลียวตีจนแตกนั้นประชาชนพากันอพยพลงใต้มาบริเวณอาณาจักรโกคูรยอเดิม แล้วเชื้อพระวงศ์ของอาณาจักรบัลแฮ ก็สถาปนาอาณาจักรใหม่บริเวณอาณาจักรโกคูรยอเดิม แล้วให้ชื่อว่า อาณาจักรโกคูรยอ แล้วสถาปนาตนเองป็นกษัตริย์พระนามว่าพระเจ้ากุงแย ส่วนชาวแพกเจที่อยู่อาณาจักรชิลลาก็ได้ก่อกบฏต่ออาณาจักรรวมชิลลามีหัวหน้าคือ คยอน ฮวอน แล้วไปตั้งถิ่นฐานที่บริเวณอาณาจักรแพกเจเดิมแล้วให้ชื่อว่า อาณาจักรแพกเจ แล้วสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าคยอน ฮวอน แล้วทำการก่อกบฏต่ออาณาจักรรวมชิลลาทำให้ชิลลาเกิดความระส่ำระส่าย จึงถือเป็นยุคสามอาณาจักรยุคหลัง


ยุคอาณาจักรโครยอ

วังฮูมาสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แทโจแห่งราชวงศ์โคเรียวเมื่อ พ.ศ. 1486 อาณาจักรนี้เจริญสูงสุดในสมัยกษัตริย์มุนจง ยุคนี้เป็นยุคที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนามีการทำสงครามกับพวกญี่ปุ่นและมองโกล ถูกจีนควบคุมในสมัยราชวงศ์หยวน จนเมื่ออำนาจของราชวงศ์หยวนอ่อนแอลง อาณาจักรโครยอต้องพบกับปัญหาโจรสลัดญี่ปุ่นและการรุกรานของราชวงศ์หมิง ในที่สุดทำให้ฝ่ายทหารมีอำนาจมากขึ้นจนนำไปสู่การยึดอำนาจของนายพล อีซองกเย และสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1935

ยุคราชวงศ์โชซอน

นายพล ลี ซองเกสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แทโจแห่งราชวงศ์โชซอน ในสมัยนี้ส่งเสริมลัทธิขงจื้อให้เป็นลัทธิประจำชาติและเริ่มลดอิทธิพลของพุทธศาสนา สมัยกษัตริย์เซจงมหาราช ทรงประดิษฐ์อักษรฮันกึล ขึ้นใช้แทนอักษรจีนแทน (ยุคของหมอหลวงหญิงคนแรกที่รักษากษตริย์ คือ แด จัง กึม )
เกาหลีมีความขัดแย้งกับชาติตะวันตกโดยเฉพาะเรื่องคริสต์ศาสนาและความแตกแยกในหมู่ขุนนางทำให้ราชวงศ์นี้เสื่อมลง จนถูกญี่ปุ่นยึดครองและล้มล้างระบอบกษัตริย์ไปในที่สุด


สงครามเกาหลี บทสรุปแผ่นดินแห่งความแตกแยก


ญี่ปุ่นได้ผนวกประเทศเกาหลีเป็นดินแดนของตน ในระหว่างที่ญี่ปุ่นปกครอง มีการสร้างคมนาคม แต่ส่วนใหญ่เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าของญี่ปุ่นมากกว่า ญี่ปุ่นล้มล้างราชวงศ์โซซอน ทำลายพระราชวัง ให้ส่งข้าวจากเกาหลีไปญี่ปุ่น ทำให้เกิดความอดอยากในเกาหลี มีการใช้แรงงานทาสในการสร้างถนนทำเหมืองแร่
หลังจากการสวรรคตขอกษัตริย์โกจง ทำให้เกิดการเรียกร้องเอกราชทั่วประเทศ การลุกฮือเรียกร้องเอกราชทำให้ชาวเกาหลีราว 7,000 คนถูกฆ่าโดยทหารและตำรวจญี่ปุ่น
ต่อมาเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นก็ยังได้พยายามลบล้างความเป็นชาติของเกาหลี โดยห้ามไม่ให้มีการสอนประวัติศาสตร์เกาหลี ภาษาเกาหลีในโรงเรียนเกาหลี การแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเกาหลีถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ชาวเกาหลีถูกบังคับให้ใช้ชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น พร้อมกับนำของสิ่งมีค่าถูกนำออกจากเกาหลีไปญี่ปุ่น หนังสือประวัติศาสตร์ถูกเผาทำลาย  มีกระบวนการกอบกู้เอกราชเกิดขึ้นในจีน เกาหลีแทบจะไม่เหลือความเป็นชาติและศักดิ์ศรี หากแต่ความจริงแล้วมนุษย์เราย่อมหวงแหนถิ่นฐานและรักในเชื่อชาติและเผ่าพันธุ์ของตน ความเป็นประชาชนเกาหลีก็ยังไม่ลืมความเป็นชาติของตนได้





หลังจากที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ต่อฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังของฝ่ายพันธมิตรก็ไดเขาไปปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในประเทศเกาหลี ด้วยความที่เวลานั้นสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย ต่างเป็นพันธมิตรในฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยกัน แต่เบื้องหลังมีความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ปกครอง ทำให้ทั้งสองฝ่ายมองว่าคาบสมุทรเกาหลี มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่างก็ต้องการเข้าไปมีผลประโยชน์เหนือคาบสมุทรแห่งนี้ด้วยกันทั้งสองประเทศ สุดท้ายด้วยความที่เพิ่งได้รับอิสรภาพ จำเป็นต้องมีผู้นำ แต่ประชากรตอนนั้นมีความเห็นต่างกันเรื่องรูปแบบการปกครอง เมื่อเกาหลีทั้งสองฝ่ายมีความเห็นที่ต่างกัน เกาหลีที่ปกครองแบบคอมมิวนิสต์นั้นต้องการให้กลับมารวมชาติให้เป็นหนึ่งเดียวจึงส่งทหารเข้ามายึดครองส่วนที่ปกครองด้วยแบบประชาธิปไตย ผลคือทำให้เกิดสงครามเกาหลี เป็นเหตุให้แบ่งดินแดนของประเทศเกาหลีออกเป็น2ส่วน โดยใช้เส้นละติจูด 38 องศาเหนือ คือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้



ข้อมูลเบื้องต้น


ประเทศเกาหลีใต้ (เกาหลี: 한국 ฮันกุก หรือ โชซอน) ตั้งอยู่ในคาบสมุทรเกาหลีทอดตัวไปทางทิศใต้ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีความยาว 1,020 กิโลเมตร และกว้าง 175 กิโลเมตร ณ จุดที่แคบที่สุดของคาบสมุทร พื้นที่ร้อยละ 70 ของประเทศเป็นเทือกเขา จึงจัดเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศเกาหลีใต้มีพื้นที่ 99,500 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 47.9 ล้านคน ประกอบด้วย 9 จังหวัด มีกรุงโซล เป็นเมืองหลวงของประเทศ

สภาพภูมิอากาศ
มี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว เดือน มิ.ย.- ส.ค. เป็นช่วงที่ฝนตกชุก อุณหภูมิโดยเฉลี่ย -5 C ในฤดูหนาว และ 33 C ในฤดูร้อน
การแบ่งเขตการปกครอง ประเทศเกาหลีใต้ ประกอบไปด้วย 9 จังหวัด (โด ) 6 เมืองใหญ่หรือมหานคร (ชี ) แต่รวมทั้งประเทศมีทั้งหมด 77 เมือง และ 88 มณฑลหรืออำเภอ (กุน) โดยได้มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 จังหวัด อีก 1 จังหวัดปกครองตนเองแบบพิเศษ 6 มหานคร และ 1 นครพิเศษ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การปกครอง ประเทศเกาหลีใต้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขสูงสุด โดยจะต้องได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ปัจจุบันเกาหลีใต้มี นาง ปาร์ก กึน เฮ เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลีใต้

ทางด้านเศรษฐกิจ เกาหลีใต้มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 10 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของเอเชียรองจากจีนและญี่ปุ่น รายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคการส่งออกในสายสินค้าและอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง

ภาษา ชาวเกาหลีใต้สื่อสารกันด้วยภาษาเดียวกัน คือ ภาษาเกาหลี ส่วนใหญ่เรียกภาษาของตนว่า “ฮันกุกมัล” โดยในกรุงโซลและเขตปริมณฑลจะใช้เป็นภาษากลาง ส่วนภาษาท้องถิ่นก็มีใช้กันตามภาคต่างๆ แต่ถึงกระนั้นชาวเกาหลีใต้ก็สามารถสื่อสารเข้าใจกันเป็นอย่างดี ยกเว้นภาษาท้องถิ่นของเกาะเชจู ซึ่งเข้าใจยากกว่าท้องถิ่นอื่นๆ


การศึกษา

ประเทศเกาหลีใต้มีการพัฒนาประเทศที่ประสบความสำเร็จน่ายกย่อง ด้วยจากการที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา มีระบบการศึกษาที่ดี มีสัดส่วนของประชากรที่รู้หนังสือสูง และคุณภาพของการศึกษาสูงทำให้การพัฒนาของประเทศ สามารถพัฒนาได้เร็ว เนื่องจากการที่มีประชากรคุณภาพ

“เกาหลีใต้” เป็นประเทศแถบเอเชียประเทศแรกที่ติดอันดับ 1 การจัดอันดับการศึกษาโลกของเพียร์สัน อ้างอิงผลประเมินทักษะการคิดและการบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาด้านต่างๆ รวมถึงคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนและนักศึกษาของแต่ละประเทศ ซึ่งผ่านการทดสอบทักษะและความรู้ในระดับ

เกาหลีได้สร้างระบบการศึกษาสมัยใหม่ ที่มุ่งพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการเป็นสังคมแห่งความรู้  (Knowledge-based Society) สร้างสภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้คนเกาหลีมีความรู้ ความสามารถ มีความทันสมัย และที่สำคัญคือมีจริยธรรม แต่ยังคงความเป็นเลิศด้านการศึกษาและดำรงมาตรฐานของระบบการศึกษาของเกาหลี

การวิเคราะห์วัฒนธรรมการจัดการของประเทศเกาหลีใต้ตามทฤษฎีแนวคิดวัฒนธรรมการจัดการของ  Prof.Hofstede


อิทธิพลที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโครงสร้างสังคมเกาหลี


จากอิทธิพลที่เกาหลีการถูกครอบครองจากประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น  จึงได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะการพัฒนาระบบอุตสาหกรรม และหลังจากการถูกแบ่งประเทศที่ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาควบคุม ทำให้ชาวเกาหลีมีความมุมานะที่จะพัฒนาชาติให้เจริญก้าวหน้า และเร่งพัฒนา ผลิตกำลังคนให้มีการเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ โดยได้รับการส่งเสริมจากสหรัฐอเมริกา  ทำให้ชาวเกาหลีรักการเรียนรู้และมีการศึกษาในระดับที่สูงและมีคุณภาพ  ซึ่งให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก ประกอบกับความรู้สึกชาตินิยม ที่เกิดจากการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่แสนโหดร้าย ทำให้เกาหลีมีความพยายามที่จะลุกขึ้นสู้ด้วยตนเอง เพื่อเทียบเท่ากับนานาประเทศ
 ส่วนอิทธิพลอื่นที่มีต่อประเทศ เกาหลีคือ อิทธิพลจากประเทศจีนในเรื่องปรัชญาหรือลัทธิขงจื๊อ ที่สอนให้บุคคลเป็นคนขยันมีระเบียบวินัย ศึกษาหาความรู้ เคารพเชื่อฟังผู้อาวุโส ทำให้สังคมเกาหลีให้ความสำคัญกับครอบครัวมาก ในรูปแบบความสัมพันธ์พ่อกับลูกชายที่เน้นความผูกพัน  พระเจ้าแผ่นดินกับประชาชนที่เน้นความเที่ยงธรรม ผู้ใหญ่กับผู้เยาว์เน้นความอาวุโสสูงต่ำเกิดความไม่เท่าเทียม ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนที่เน้นความจริงใจ  ด้วยความสัมพันธ์เหล่านี้ทำให้เกิดความกตัญญูยูต่อครอบครัวสูงมากและลูกชายคนโตจะสืบทอดตระกูล เหมือนวัฒนธรรมจีน

มิติของช่องว่างของอำนาจ

พบว่าวัฒนธรรมของเกาหลีนั้นมีช่องว่างระหว่างอำนาจสูง ในระดับสูงกว่า 50% อันเป็นผลมาจากการปกครองลำดับชั้น ยึดฐานของอำนาจความอาวุโสและหน้าที่


มิติความเป็นส่วนตัวและความเป็นกลุ่ม

มิติความเป็นกลุ่มมากกว่าความเป็นปัจเจกชน อันเนื่องมาจากการเน้นความสัมพันธ์กับครอบครัว เครือญาติ โดยสะท้อนมิติความเป็นกลุ่มสูง


มิติความสำคัญของเพศชายมากกว่าเพศหญิง

ส่วนมิติความเป็นเพศชายสูงไม่มาก ประมาณ 35%


มิติการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน

มิติการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจะสูงมากในระดับ80%  เมื่อได้วิเคราะห์ตามข้อมูลพื้นฐานพบว่าเป็นเรื่องชองการรักองค์กรทำให้บุคลากรทำงานในองค์กรเป็นเวลานาน และทำอย่างทุ่มเท อันเป็นผลมาจากการทำงานที่มีการทำงานแบบครอบครัวหรือสร้างความรู้สึกเป็นครอบครัวเดียวกัน  รวมทั้งระบบอาวุโสที่รุ่นพี่จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับรุ่นน้อง


มิติช่องห่างระยะเวลา

การทำงานในองค์กรของเกาหลีก็จะมีการใช้ความสัมพันธ์เป็นเครื่องผูกผัน นำไปสู่การทำงานร่วมกัน


การวิเคราะห์ลักษณะการจัดการของประเทศเกาหลีใต้


1.วัฒนธรรมการจัดการที่ให้ความสำคัญกับความอาวุโสหรือตำแหน่งหน้าที่ค่อนข้างมาก
ด้วยวัฒนธรรมของการเคารพผู้อาวุโสและมีตำแหน่งหน้าที่ที่สูง ก่อให้เกิดแนวโน้มว่า ชาวเกาหลีไม่นิยมหรือแสดงความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกับบุคคลต่างรุ่น โดยจะแยกบุคคลออกกันชัดเจนในเรื่องอายุ ดังที่สามารถมองเห็นได้ว่า  ในระหว่างพักหรือนั่งประชุมจะไม่มีการนั่งปะปนกัน แต่จะนั่งตามกลุ่มอายุ หรือหากได้รับโอกาสให้นั่ง ผู้อ่อนอาวุโสกว่าจะต้องสำรวมกิริยาเป็นอย่างมาก เช่น กรณีที่ยกแก้วชนกันแสดงความยินดี หลังจากที่ทำแล้ว ผู้ที่อ่อนอาวุโสกว่าจะต้องหันหน้าออกจากวงที่นั่งเพื่อยกแก้วขึ้นดื่ม พฤติกรรมเช่นนี้เป็นการแสดงความเคารพรุ่นพี่หรือไม่เทียบรุ่นกับผู้แก่กว่านั้นเอง

2.วัฒนธรรมการจัดการที่ให้ความสำคัญของความสัมพันธ์มนุษย์
ชาวเกาหลีให้ความสัมพันธ์กับบุคคลและกลุ่มอยู่ในระดับมาก เช่น ความสัมพันธ์แบบเครือญาติหรือกลุ่มดังนั้นในการทำธุรกิจร่วมกันพฤติกรรมการต้อนรับขับสู้บุคคล และวัฒนธรรมการให้ของขวัญ มีบทบาทสำคัญมากในความสำเร็จของการสร้างความสัมพันธ์ด้านการทำธุรกิจ

3.วัฒนธรรมการจัดการแบบครอบครัวหรือระบบเครือญาติ
ชาวเกาหลีเรียกว่า แชโบ คือ การจัดการธุรกิจองค์กรแบบครอบครัวหรือมีเครือข่ายของความเป็นเครือญาติ นับตั้งแต่เรียกบุคคลเข้ามาทำงาน การทำงานหรือการเลื่อนตำแหน่งให้ไปดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่การจัดการแบบนี้เจ้าของกิจการได้รับการนับถือยกย่องจากพนักงานดุจพ่อในครอบครัว ส่งผลทำให้องค์กรมีการแบ่งลำดับชั้นของสายบังคับบัญชาอยู่ในระดับสูง

4.วัฒนธรรมการยึดตำแหน่งหน้าที่และอำนาจ
ด้วยประเทศเกาหลีมีวัฒนธรรมการจัดการที่เน้นระบบครอบครัว ความเป็นเครือญาติ ความสัมพันธ์ และความมีอาวุโสในการทำงานกับองค์กรดังนั้น ตำแหน่ง หน้าที่ และอำนาจหน้าที่ จึงมีความสำคัญค่อนข้างมาก ส่งผลให้การตัดสินใจจะอยู่ในส่วนกลางหรือผู้มีอำนาจสูงสุด

5.วัฒนธรรมการจัดการแบบกลุ่มพวก
สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมการจัดการที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์จึงก่อให้เกิดการทำงานแบบกลุ่มพวก เช่น กลุ่มคนบ้านเกิดเดียวกัน กลุ่มอาชีพเดียวกัน ด้วยพลังกลุ่มอาชีพนี้เอง สามารถสร้างพลังให้ต่อสู้กับต่างประเทศในการค้าขาย การลงทุน การกระทำนี้ได้กลายเป็นพลังการร่วมกลุ่มในสังคม และเกิดเป็นวัฒนธรรมการสะสมทุนอย่างหนึ่ง และใช้เพื่อให้กู้ยืม และยังเป็นประโยชน์ในภาพรวม

6.วัฒนธรรมการจัดการที่ส่งเสริมความขยัน อดทน มุ่งมั่น และมีสมรรถนะ
ชาวเกาหลีชอบการทำงานที่เสี่ยง หรือต้องอดทนในการได้มา ซึ่งเน้นการทำงานหนัก ขยันและมีการใฝ่เรียนรู้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งเรื่องอาชีพและทัศนคติในการทำงาน ชาวเกาหลีจะถูกสอนและถ่ายทอดตั้งแต่ในครอบครัว  โรงเรียน สังคม ชุ่มชน การใช้สื่อ นายจ้าง เพื่อนร่วมงาน อย่างครบวงจร ระบบคัดเลือกเข้าทำงานจะพิถีพิถัน โดยมีฐานการพิจารณาคือ ความฉลาดไหวพริบ และความสามารถการเป็นผู้นำอันยึดเรื่องสปิริตของความสามัคคีและความหมั่นเพียร ถือว่าองค์กรเกาหลีให้โอกาสคนเก่ง

7.วัฒนธรรมการจัดการที่ให้ความผูกพันกับองค์กรมาก
ชาวเกาหลีจะผูกพันกับครอบครัว กับกลุ่มและได้ถ่ายทอดความรู้สึกนี้ไปยังองค์กรที่ตนสังกัดอยู่ ทุกคนในองค์กรจะทำงานกันอย่างเต็มที่ ทำงานหนักเกินชั่วโมงที่กำหนดไว้ โดยไม่ได้คำนึงเรื่องรายได้ที่มาตอบแทนส่วนบุคคล แต่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่เสมอกัน เพราะทุกคนที่ทำงานจะได้รับผลประโยชน์กันอย่างทั่วหน้ากัน

8.วัฒนธรรมการจัดการที่เน้นการดูแลลูกน้อง
ในองค์กรเกาหลี ผู้เป็นเจ้าของกิจการหรือหัวหน้าระดับสูงจะต้องให้ความดูแลลูกน้องในด้านสวัสดิการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น  มีการตั้งโรงเรียนสำหรับบุตรหลานบุคลากรในบริเวณโรงงาน มีโรงพยาบาลมีสนามกีฬา หรือเรียกว่าเป็นเมืองๆ หนึ่ง  นอกจากนี้การเป็นหัวหน้าในองค์กรแบบเกาหลีจะต้องมีการสนับสนุนให้ลูกน้องได้เลื่อนตำแหน่ง มีค่าตอบแทนสูงขึ้น ตลอดจนให้กำลังใจ ไม่แสดงความอิจฉาริษยา รังเกียจ กลั่นแกล้งลูกน้อง และผู้เป็นหัวหน้าจะทำงานอย่างหนักมากกว่าลูกน้องเป็นตัวอย่างที่ดี 

9.วัฒนธรรมการจัดการที่ให้ความสำคัญกับการวางแผน
ด้วยชาวเกาหลีรักการทำงานเพื่อองค์กร และเพื่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ ดังนั้นการทำงานของชาวเกาหลีจะให้ความสำคัญของการวางแผนเป็นอย่างดี  การขับเคลื่อนเพื่อการวางแผนที่ดีก็คือ การประชุมแต่อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมการแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมยังเสนอความคิดเห็นได้ เพื่อเกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่ยังไม่นิยมแสดงความเห็นแบบต่อต้านฝ่ายตรงข้ามอย่างเปิดเผย


วัฒนธรรมการจัดการของประเทศจีน

1. ข้อมูลทั่วไปของประเทศจีน


ประเทศจีนและประเทศเพื่อนบ้าน

ประเทศจีนตั้งอยู่ทางเอเชียตะวันออกซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของมหาสมุทรเอเชียแปซิฟิก  รูปร่างของประเทศคล้ายกับไก่  ประเทศจีนมีพื้นที่ทั้งหมด 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร

ประเทศจีนมีอาณาบริเวณติดกับประเทศอื่นถึง  14  ประเทศ
ทิศตะวันออก ติดกับ  เกาหลีเหนือ
ทิศใต้ ติดกับ  พม่า, ลาว และเวียดนาม
ทิศตะวันตก ติดกับ  อัฟกานิสถาน  และปากีสถาน
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับ  คาซัคสถาน,  กีรกีซสถาน และเทอร์กีซสถาน
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับ  อินเดีย,  เนปาล  และภูฏาน
ทิศเหนือ ติดกับ  รัสเซีย  และมองโกเลีย

ภูมิประเทศ

ประเทศจีนมีลักษณะทางภูมิประเทศเป็นเทือกเขา  ภูเขา  ที่ราบสูง  ที่ราบ  หุบเขา  ทะเลสาบ  ลุ่มแม่น้ำและทะเลทราย

ภูมิอากาศ

จีนภาคตะวันออกโดยเฉพาะชายฝั่งทะเลตั้งแต่เหนือจดใต้ได้รับอิทธิพลลมหนาวและลมมรสุม  ภาคตะวันตกได้รับอิทธิพลลมหนาวมากกว่า  และมีความร้อนจัด

ประชากร

จีนมีชนกลุ่มน้อยเป็นชนกลุ่มชาติพันธุ์ถึง 55 กลุ่ม  ส่วนชนกลุ่มใหญ่ของจีนเรียกตนเองว่า  “ฮั่น” ปัจจุบันประเทศจีนมีประชากรทั้งหมดประมาณ “1,350 ล้านคน”


โครงสร้างของสังคมจีน

โครงสร้างของระบบครอบครัวจีนยึดอุดมการณ์การสร้างครอบครัวใหญ่ตามอุดมการณ์ของขงจื๊อซึ่งคนจีนได้ยึดปฏิบัติมาหลายศตวรรษ  และยังมีอิทธิพลในสังคมจีนปัจจุบัน

โครงสร้างครอบครัวจีนตามอุดมการณ์ของขงจื๊อ

  • การใช้อำนาจเด็ดขาดของบิดา
  • การยึดถืออาวุโสเป็นหลัก
  • การเซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษ
  • สายสัมพันธ์อันลึกซึ้งที่มีขอบเขตครอบงำบุคคลทุกแง่มุมในครอบครัวทุกระดับชั้น
  • การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในด้านความมั่นคงของครอบครัวและการทำมาหากิน
ระบบครอบครัวได้สร้างเอกลักษณ์แก่อุปนิสัยของคนจีน  คือ  คนจีนส่วนใหญ่ค่อนข้างจะมีความอดกลั้น  มักยอมทนต่อสิ่งต่อต้านกดดันของครอบครัว  มีความรักพวกพ้องของตนเหนือสิ่งอื่นใด

    แหล่งกำเนิดของอารยธรรมจีน  

    แม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง/หวงเหอ)
    อาณาบริเวณของแม่น้ำฮวงโหเป็นแหล่งกำเนิดแรกของชนชาติจีนที่เรียกตัวเองว่า  “ฮว๋าเซี่ย”  บรรพบุรุษของจีนได้ใช้ประโยชน์จากการไหลเซาะของแม่น้ำแล้วนำพาดินที่อุดมสมบูรณ์มาใช้เพาะปลูกข้าวและธัญพืช  แล้วถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
    ในสมัยโบราณบริเวณแม่น้ำฮวงโหได้ถูกใช้ให้เป็นศูนย์กลางของการปกครอง  การค้า  และวัฒนธรรม


    แม่น้ำแยงซีเกียง  (ฉางเซียง)
    แม่น้ำแยงซีเกียงเป็นอีกจุดกำเนิดแรกของชนชาติจีน  ในยุคหลังสมัยราชวงศ์ถังบริเวณแม่น้ำฮวงโหเกิดสงคราม  บ้านเมืองวุ่นวาย  มีการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า  อากาศที่หนาวเย็นและแห้งแล้งทำให้ขาดแคลนปัจจัยต่างๆในการดำรงชีวิต  จึงทำให้ธุรกิจการค้าและวัฒนธรรมต่างๆอพยพย้ายลงมายังลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง   ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นใจกลางและเป็นหลักสำคัญในการผลิตอาหาร  ผ้าฝ้าย  และภาษีที่นา


    จีนยุคเก่า

    ราชวงศ์ในจีน

    1.  ราชวงศ์เซี่ย    ราชวงศ์แรกของจีนคือ  พระเจ้าอวี่ได้ก่อตั้งราชวงศ์เซี่ย  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จีนก็ได้พัฒนาเข้าสู่สังคมระบอบทาส 
    2. ราชวงศ์ซัง   ในช่วงราชวงศ์ซัง สัญลักษณ์ที่สำคัญคือ ตัวอักษรโบราณที่สลักไว้บนกระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์ที่ถูกใช้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเสี่ยงทาย   และวัฒนธรรมทองสัมฤทธิ์  ตั้งแต่สมัยนี้เป็นต้นมา จีนก็ได้พั 3. ราชวงศ์โจว
    3. ราชวงศ์โจว สมัยราชวงศ์โจวเป็นยุคเฟื่องฟูของการโต้แย้งและการประชดประชันความคิดของเหล่านักคิดจากร้อยสำนัก นักคิด/ปราชญ์ที่มีชื่อเสียง เช่น ขงจื๊อ, เม่งจื๊อ, เล่าจื๊อ, จวงจื่อ และซุนวู


    อารยธรรมสมัยราชวงศ์โจว
    แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น “โอรสแห่งสวรรค์” 

    • เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทางเป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม  เน้นความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของผู้คนในสังคมระหว่างจักรพรรดิกับราษฎร บิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน  เน้นความกตัญญู เคารพผู้อาวุโส ให้ความสำคัญกับครอบครัว   เน้นความสำคัญของการศึกษา
    • เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ที่มีแนวทาง  เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีรีตองใดใด  เน้นการปรับตัวเข้าหาธรรมชาติลัทธินี้มีอิทธิพลต่อศิลปิน กวี และจิตกรจีน  คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งพาทางใจของผู้คน


    4. ราชวงศ์ฉิน-ราชวงศ์ศักดินาแรกของจีน
    ฮ่องเต้องค์แรกของประเทศจีน  พระนามว่า “ฉินสื่อหวงตี้”  หรือ  “จิ๋นซีฮ่องเต้”  ราชวงศ์ฉินเป็นราชวงศ์ศักดินา ที่มีระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐเป็นเอกภาพราชวงศ์แรก
    นอกจากนี้จิ๋นซีฮ่องเต้ที่ได้ชื่อว่า  เป็นกษัติร์ที่เหี้ยมโหดได้ลงโทษบรรดาผู้เลื่อมใสในลัทธิขงจื๊อ  เพราะลัทธิขงจื๊อเชื่อว่ากษัตริย์ควรเป็นผู้มีคุณธรรม หากไม่มีคุณสมบัตินี้นับว่าไม่อยู่ในอาณัติของสวรรค์   ทำให้มีการเผาทำลายหนังสือของลัทธิขงจื๊อ   นักปราชญ์ก็ถูกประหารชีวิตจำนวนมาก


    5. ราชวงศ์ฮั่น
    ลัทธิขงจื๊อและสำนักปรัชญาขงจื๊อเป็นความคิดที่ราชวงศ์ต่างๆสมัยหลังราชวงศฮั่นได้ยึดถือปฎิบัติตาม  และในยุคนี้จีนได้มีการติดต่อกับต่างประเทศและการค้ากับประเทศเอเซียตะวันตกต่างๆด้วยเส้นทางสายไหม

    6. ราชวงศ์สุย
    เป็นราชวงศ์ที่มีอายุสั้นมาก จักรพรรดิสุยเหวินตี้ได้สร้างคุณูปการอันยิ่งใหญ่หลายด้าน เช่น จัดตั้งระบบสอบจอหงวนซึ่งเป็นวิธีการคัดเลือกข้าราชการแบบใหม่


    7. ราชวงศ์ถัง
    ราชวงศ์ที่มีอำนาจและเจริญรุ่งเรืองที่สุด  ยาวนานถึง 290 ปี เป็นยุคที่มีศิลปวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์จีน  ทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า ศิลปวัฒนธรรม การก่อสร้าง การทหาร มีการติดต่อกับต่างชาติเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ

    8. ราชวงศ์ซ่ง
    ในสมัยราชวงศ์ซ่งเริ่มมีศาสนาต่างๆแพร่หลายเข้าสู่จีน โดยเฉพาะ ศาสนาเต๋า ศาสนาพุทธตลอดจนศาสนาอื่นที่เข้าสู่จีนจากต่างประเทศก็แพร่หลายมาก

    9.  ราชวงศ์หยวน
    กุบไลข่าน(ชาวมองโกล) โค่นราชวงศ์ซ่งลง และตั้งกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวง  ทรงตั้งความหวังจะเป็นกษัตริย์ที่ดี ปกครองอย่างสุขุมรอบคอบ เอาใจใส่ประชาชน จึงสามารถชนะใจชาวจีนได้ 

    10. ราชวงศ์หมิง
     เศรษฐกิจการค้าได้พัฒนาเริ่มเป็นเค้าโครงของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ในช่วงต้นราชวงศ์หมิง จีนมีที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ไม่มีเจ้าของจำนวนมากมาย จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้รวบรวมคนพเนจร ลดและงดภาษีอากรให้พวกเขา ทำให้จำนวนชาวนามีที่นาทำเองเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก

    11. ราชวงศ์ชิง
    จีนสมัยราชวงศ์ชิงยังคงเป็นประเทศเกษตรกรรม ในด้านวัฒนธรรมและความคิด ราชวงศ์ชิงยังคงส่งเสริมหลักการและคำสอนต่างๆของสังคมศักดินาที่สืบทอดกันมา เพื่อพิทักษ์การปกครองของจักรพรรดิ   ในยุคนี้ไม่มีความสัมพันธ์ด้านต่างประเทศเนื่องจากจีนปิดประเทศเป็นเวลานาน



    ในค.ศ.1840 เกิดสงครามฝิ่นขึ้น การรุกรานของจักวรรดินิยมต่างประเทศบีบ บังคับให้ราชสำนักชิงต้องลงนามสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ ทำให้สังคมจีนค่อยๆกลายเป็นสังคมกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา ประชาชนจีนมีความเดือดร้อนทุกข์ยาก จึงก่อการเคลื่อนไหวต่อต้านจักรวรรดินิยมและศักดินานิยมต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวไท่ผิงเทียนกั๋ว ซึ่งเป็นกบฎชาวนา   แต่ต้องประสบความล้มเหลวในที่สุด
    ในปีค.ศ.1911 การปฏิวัติซินไฮ่ ดร.ซุนยัดเซ็นเป็นผู้นำได้โค่นล้มการปกครองของราชวงศ์ชิง และสิ้นสุดสังคมศักดินาจีนซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์จีนได้เข้าสู่ยุคใหม่


    จีนยุคใหม่ 

    การสถาปนาระบอบสาธารณรัฐประชาชนจีน(ค.ศ. 192-1949)
    เหตุผลที่ผู้นำคอมมิวนิสต์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนที่มีความสำนึกในทางการเมืองสูง
    1. การรุกรานของญี่ปุ่น
    2. สภาพเสื่อมโทรมทางสังคมและเศรษฐกิจ


    ยุคการฟื้นฟูและบูรณะเศรษฐกิจของจีน (1949-ปัจจุบัน)
    จีนได้ฟื้นฟูบูรณะโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ฟื้นฟูการผลิตทางการเกษตร  และการฟื้นฟูเสถียรภาพของราคา  นอกจากนี้ยังนำเอาระบบเงินตราที่เป็นระบบเดียวกันมาใช้  และได้กระตุ้นโครงการพัฒนาต่างๆ  ซึ่งได้แปลงรูปประเทศเก่าที่ยากจนและล้าหลังถึงที่สุด  ไปเป็นสังคมแบบสังคมนิยมที่กำลังบุกบั่นก้าวไปสู่ความมั่งคั่ง


    การวิเคราะห์วัฒนธรรมการจัดการของประเทศจีนตามทฤษฎี แนวคิดวัฒนธรรมการจัดการของ Prof.Hofstede

    มิติที่ 1 ช่องว่างของอำนาจ
    จากประวัติศาสตร์ของจีนสะท้อนให้เห็นได้ว่า  ช่องว่างของอำนาจในองค์กรที่เป็นวัฒนธรรมการจัดการแบบจีนจะอยู่ในระดับที่สูง  เนื่องจากว่า  ชาวจีนมีวัฒนธรรมการจัดการที่เคารพผู้อาวุโส  ผู้มีอำนาจตำแหน่งหน้าที่ที่สูงกว่า  ความเป็นเจ้านายกับลูกน้องจึงมีสูง  นอกจากนี้ยังมีระบบครอบครัวหรือเครือญาติในการทำงานด้วย 


    มิติที่  2  ความเป็นส่วนตัวและความเป็นกลุ่ม
    ชาวจีนจะมีมิติความเป็นปัจเจกชนอยู่ในระดับต่ำ  เนื่องจากว่าชาวจีนจะให้ความสำคัญกับกลุ่มหรือส่วนรวม  โดยการทำงานจะเป็นไปในลักษณะที่ใช้ความเป็นเครือญาติ  หรือการใช้ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากกว่าการใช้ความสามารถของตนเองดังเช่นคนตะวันตก


    มิติที่  3  ความสำคัญของเพศชายมากกว่าเพศหญิง

    จากการวิเคราะห์พบว่าสังคมจีนจะให้ความสำคัญกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง  ซึ่งได้รับอิทธิพลจากหลักคำสอนของลัทธิขงจื๊อ ที่เชื่อว่า ลูกชาย คือผู้เลี้ยงดูพ่อแม่    และลูกชาย คือผู้สืบทอดตระกูล


      มิติที่  4  การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน
    สำหรับชาวจีนแล้วในมิตินี้จะอยู่ในระดับที่ต่ำ  เนื่องจากว่าโดยปกติแล้วลักษณะนิสัยของคนจีนจะเป็นคนขยัน  อดทน  ประหยัดอดออม  ใฝ่รู้  ชอบสังเกต  ทำให้คนจีนไม่กลัวความเสี่ยงในการทำงาน  สามารถแยกตัวออกไปหางานใหม่ได้เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม


    มิติที่  5  ช่องห่างของระยะเวลา
    จากการที่ชาวจีนให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  ความเป็นเครือญาติ  ครอบครัว เน้นความสัมพันธ์ที่ยาวนานในการทำงาน  จึงส่งผลให้มิติช่องห่างของระยะเวลาของจีนอยู่ในระดับที่สูง  



     การวิเคราะห์ลักษณะการจัดการของประเทศจีน


    1. วัฒนธรรมการจัดการธุรกิจเป็นแบบครอบครัวโดยมีพ่อเป็นใหญ่ในครอบครัว และมีการจ้างงานบุคลากรที่เป็นสมาชิกที่อยู่ในตระกูลหรือแซ่เดียวกันเป็นหลัก


    2. วัฒนธรรมการจัดการที่มีการควบคุมธุรกิจด้วยผู้จัดการที่คนในครอบครัว เรียกว่า “หลงจู๊” มีหน้าที่ดูแลกิจการหรือดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการ โดยส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลในครอบครัว เช่น ลุง อา พี่ชายคนโต

    3. วัฒนธรรมการจัดการที่นับถือผู้อาวุโสที่มีอายุมากกว่าหรือทำงานนานกว่า ที่เป็นผลมาจากคำสอนในลัทธิขงจื๊อ ฉะนั้นในการทำงานคนจีนจึงนำวัฒนธรรมนี้ไปปรับใช้ในองค์กรด้วย

    4. วัฒนธรรมการจัดการที่มุ่งมั่นอย่างคนใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ชาวจีนจะส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรที่เป็นสมาชิกในครอบครัวและคนที่จ้างมาทำงานได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และทำงานได้ในทุกตำแหน่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจภาพใหญ่ของการทำธุรกิจนั่นเอง

    5. วัฒนธรรมการจัดการจัดการที่มีการทำงานแบบจดจำ สังเกตแล้วลงมือปฏิบัติ

    6. วัฒนธรรมการจัดการที่เน้นการทำงานหนัก ขยัน ประหยัด อดออม

    7. วัฒนธรรมการจัดการที่ยึดความสัมพันธ์ ชาวจีนส่วนใหญ่จะเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน หรือที่เรียกว่า “กวนซี” เข้ามาทำงานในองค์กรและการทำธุรกิจร่วมกันด้วย

    8. วัฒนธรรมการจัดการที่เป็นแบบกลุ่มพวก ชาวจีนยึดความสัมพันธ์เป็นหลัก ฉะนั้นชาวจีนจึงนิยมทำธุรกิจในกลุ่มคนที่รู้จักหรือมีความสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่

    9. วัฒนธรรมการจัดการที่มีวัฒนธรรมการรักษาใบหน้าส่งผลให้การทำงานของคนจีนหรือคนตะวันออกมักไม่แสดงความเห็นหรือขัดแย้งตรงๆ


    จากลักษณะ ลักษณะการจัดการของประเทศจีนทั้ง 9 ประการข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ชาวจีนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับคนในตระกูลหรือสายเลือดเดียวกันมากกว่าบุคคลภายนอกครอบครัว ทำให้การบริหารจัดการภายในองค์กรเป็นไปได้ง่าย และองค์กรธุรกิจจีนส่วนใหญ่จะมุ่งหวังแต่กำไรเป็นสำคัญจนเกิดปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรมต่างๆตามมา


    แต่อย่างไรก็ตามประเทศจีนได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาธุรกิจด้านจริยธรรม คุณธรรม โดยการหันมาให้ความสำคัญกับปรัชญาขงจื๊ออีกครั้ง โดยการนำหลักแนวคิดการทำธุรกิจที่เป็นแบบฉบับของคนจีน เรียกว่า “หยูซัง” ซึ่งเป็นการทำธุรกิจที่นักธุรกิจได้ผ่านการขัดเกลาจิตใจมาอย่างดี มีคุณสมบัติในการทำการค้า โดยมีภาพลักษณ์ภายในที่วางตนเสมือนเทพ ส่วนภาพลักษณ์ภายนอกวางตนเสมือนราชาผสมผสานกัน จรัสศรี จิรภาส (2550)


    ข้อเสนอแนะสำหรับการทำงานร่วมกับคนจีน


    การทำงานร่วมกับคนจีนควรปฏิบัติดังนี้
    1. ควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวจีนให้เข้าใจ เพื่อให้สามารถเข้าใจและปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องโดยไม่เกิดความขัดแย้งกัน
    2. ควรผูกมิตรก่อนที่จะทำธุรกิจร่วมกัน เพราะคนจีนชอบการพูดคุยเล็กๆ น้อยๆ และสร้างความคุ้นเคยก่อนที่จะเริ่มธุรกิจกับใคร
    3. รอยยิ้ม คนจีนมีวัฒนธรรมการรักษาใบหน้า จึงมักใช้รอยยิ้มเพื่อเป็นเครื่องมือในการเข้าสังคม
    4. ควรพูดช้าๆให้เขาฟังเข้าใจ เพราะคนจีนจะเห็นว่าการขอให้ผู้อื่นพูดซ้ำเป็นเรื่องที่ไม่สุภาพ
    5. ไม่ควรสร้างความเป็นกันเองเกินไป เพราะคนจีนจะเน้นเรื่องของการเคารพผู้อาวุโสเป็นหลัก และควรระมัดระวังการพูดจา การแสดงออก การแต่งกาย ระยะห่าง การใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน และภาษากายด้วย
    6. ในการทำงานร่วมกับชาวจีนควรฝึกฝนตนให้มีความกระตือรือร้น เพราะด้วยอุปนิสัยชาวจีนแล้วมักเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา รักษาเวลา และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ