วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน AICHR

กระบวนการทำร่างของปฎิญญาเริ่มจากตั้งคณะทำงาน และ นำเสนองานให้
"คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”
(ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights- AICHR) หรือ AICHR

จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยผู้นำอาเซียน ทั้ง ๑๐ ประเทศ ระหว่างการ
ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๕ ณ ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๒ 

  • ทำหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมสิทธิของประชาชนในภูมิภาคอาเซียน 
  • สมาชิก AICHR ประกอบด้วยผู้แทนของแต่ละประเทศ โดยคัดเลือกจากกรรมการสรรหาอิสระ 

AICHR ทำงานโดยมีการเชื่อมโยงประเด็นของ ๓ ส่วนหลักๆ คือ 

  • ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) 
  • กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
  • ตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในเรื่องอื่นๆ
กระบวนการการทำงานของ AICHR 

1).การเจรจา การทำความเข้าใจ ตีความหมาย ขยายความ และสร้างบริบทที่สอดคล้อง   
กับอาเซียน (Contextualization) 

2).การสร้างความครอบคลุม (Comprehensiveness) ซึ่งก็จะมีข้อจำกัดเรื่องการสร้าง
ความจำเพาะเจาะจงของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 

3).การสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือความใหม่ (Novelty) นอกจากนั้นก็จะต้องเป็นประเด็นที่
เป็นฉันทามติร่วมของประเทศสมาชิกทั้งหมด โดยมีการใช้เทคนิควิธีต่างๆ เช่น การทำงาน
ร่วมกับประเทศต่างๆ ที่มีความเห็นร่วมกัน (Consensus)


จุดประสงค์ของ AICHR 

1. เพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอาเซียน

2. เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนอาเซียนที่จะอยู่อย่างสันติ มีศักดิ์ศรี และ เจริญรุ่งเรือง

3. เพื่ออุทิศที่จะตระหนักถึงจุดประสงค์ของอาเซียนที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรอาเซียน
เพื่อที่จะสนับสนุนความมั่นคง ความเป็นมิตร ความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน 
ความปลอดภัย การทำมาหากิน สวัสดิการ และการมีส่วนร่วมของประชาชนอาเซียนในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน 

4. เพื่อสนับสนุนสิทธิมนุษยชนในบริบทของภูมิภาค รับรู้ถึงลักษณะเฉพาะทั้งระดับประเทศและระดับภูมิภาค เคารพในพื้นฐานทางศาสนา ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่แตกต่าง

5. เพื่อขยายความร่วมมือระดับภูมิภาคในลักษณะชื่นชมความพยายามระดับชาติและระดับนานาชาติในการสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชน

6. ยืนยันในมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติตามที่บัญญัติในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนา และส่วนสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติอื่นๆที่อาเซียนมีส่วนร่วม


สิ่งที่ท้าทายสำหรับ AICHR

  • หลักการการทำงานของอาเซียน เช่น การไม่แทรกแซงกิจการภายใน, หลักฉันทามติ(consensus), การมีมิตรภาพ (friendship) แต่ไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน 
  • หลายประเทศสมาชิกยังเป็นเผด็จการ และมีประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบจริงๆเพียงไม่กี่ประเทศ ทำให้อำนาจหน้าที่ของกลไกนี้ถูกตัดทอนจนไม่มีประสิทธิภาพ 
  • การสร้างความตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชน และ การตอบสนองต่อเรื่องการบังคับใช้(compulsory) ของหน่วย งานเฉพาะสาขา (sectoral body)

การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน

  • ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนได้กล่าวถึงประเด็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ซึ่งที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์ร่วมระบุว่า “อาเซียนจะเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ตามที่บัญญัติไว้อนุปริญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ”

  • หลายประเทศมีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่เพราะอาเซียนมีนโยบายไม่แทรกแซงการเมืองภายในของประเทศสมาชิก จึงทำให้การประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียนยากขึ้น ส่งผลให้อาเซียนไม่มีมาตรการชัดเจนในการจัดการประเทศสมาชิกที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

  • องค์กรระดับชาติด้านสิทธิมนุษยชนที่จัดตั้งขึ้นนี้เป็นเหมือนหมาเฝ้าบ้านที่ไม่มีเขี้ยวเล็บแต่อย่างใด มีอำนาจเพียงเล็กน้อยในการสืบสวนสอบสวน 


การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน

  • อาเซียนไม่มีอำนาจหน้าที่ซึ่งจะให้รัฐอื่นๆไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นเงื่อนไขของรัฐสมาชิกที่เข้ามาร่วมกับอาเซียนภายหลัง เช่น พม่า ลาว และกัมพูชา ประเทศเหล่านี้ควรจะต้องประสานงาน “วิธีการที่คล้ายคลึงกัน” ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งก็หมายความว่า ในทางปฏิบัตินั้นให้แต่ละรัฐบาลแสวงหาแนวทางของตนเอาเอง

  • การจัดตั้งองค์กรนี้เป็นประเด็นยอดเยี่ยมในร่างของกฎบัตร แต่ประเทศ CLMV (กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, และเมียนม่าร์) ต่างก็คัดค้านกลไก ด้านสิทธิมนุษยชนที่กำหนดไว้ในกฎบัตร ว่าไม่มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนให้สำหรับงานด้านการทูตของรัฐมนตรีในด้านสิทธิมนุษยชน 

  • รัฐที่เป็นรัฐอำนาจนิยมมีสิทธิคัดค้าน (Veto) เสียงเอกฉันท์ จึงเป็นไปได้ว่าเครื่องไม้เครื่องมือในการดำเนินการเรื่องสิทธิมนุษยชนจะไม่ได้รับการอนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลงปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศอาเซียนที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น