วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มประเทศในกลุ่มอาเซียน

พม่า

-เป็นการละเมิดโดยภาครัฐ ใน พ.ศ. 2512 รัฐบาลพม่าดำเนินการปราบปรามทั้งประชาชนที่ เรียกร้องประชาธิปไตยและปราบปรามชนกลุ่มน้อยที่เรียกร้องสิทธิปกครองตนเอง รวมทั้งมีการกดขี่ชนกลุ่มน้อยด้วย

-พ.ศ. 2550 รัฐบาลพม่าได้ปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตย จนมีประชาชนเสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก และถูกคุมขังนับพันคน

-พ.ศ.2553 ได้มีการปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี แต่ยังมีนักโทษการเมืองอีกจำนวนมากที่ถูกคุม ขัง ซึ่งปัญหาสิทธิมนุษยชนของพม่าถูกโจมตีจากสังคมโลกมาโดยตลอด


  • ชนกลุ่มน้อยในพม่าเผชิญกับการปราบปรามและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น ชาวมอญ ชาวกระเหรี่ยง ถูกปราบปรามจะต้องอพยพหนีออกนอกประเทศมาอยู่ตามชายแดนไทย-พม่า เช่น ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

  • ชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในพม่าที่นับถือศาสนาฮินดูถูกกดขี่ ทั้งสิทธิในการนับถือศาสนา การศึกษา การไม่ได้รับสัญชาติพม่า การถูกไล่ที่อยู่อาศัย ทำให้ชาวโรฮิงญานับแสนอพยพหนีไปในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะในบังกลาเทศ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย 

  • ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีเข้ามาเมืองอย่างผิดกฎหมาย บางส่วนก็ถูกหลอกไปใช้แรงงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง บางส่วนถูกส่งไปอยู่ในค่ายผู้อพยพที่ไม่ได้รับการดูแลที่ดี บางส่วนก็ถูกส่งกลับพม่า ปัญหาผู้อพยพจากพม่านี้สร้างปัญหาให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาก และรัฐบาลเองก็ไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ

อาเซียนไม่ได้แสดงบทบาทชัดเจนในการเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน
เพราะอาเซียนมีหลักสำคัญที่เรียกว่า วิถีอาเซียน คือ การไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและ กัน หลักการนี้ทำให้ความเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนของพม่าเป็นไปด้วยความไม่กดดัน และ อาเซียนเองก็ไม่ต้องการแยกพม่าออกไปจากอาเซียนด้วยการแทรกแซงกิจการในพม่า เพราะ อาจจะส่งผลให้รัฐบาลพม่าปิดกั้นจากประเทศสมาชิกอาเซียน

อาเซียนถูกกดดันจากสังคมโลกและสหประชาชาติมากขึ้น 
อาเซียนจึงได้ออกแถลงการณ์ตำหนิการละเมิดสิทธิมนุษยชนเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น แต่ก็ไม่ สามารถดำเนินการอย่างใดกับพม่าได้ โดยเฉพาะข้อเสนอให้ขับไล่พม่าออกจากการเป็นประเทศ สมาชิกอาเซียน เพราะในกฎบัตรอาเซียนได้ตัดมาตรานี้ออกไปแล้ว


รัฐบาลพม่าจับกุมนางอองซาน ซูจี อีกครั้งในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2552 

อินโดนีเซียและไทยได้มีการแถลงการณ์ถึงรัฐบาลพม่า โดยอินโดนีเซียเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัว นางอองซาน ซูจี เช่นเดียวกับแถลงการณ์ของรัฐบาลไทย 

ต่อมารัฐบาลพม่าได้ยอมปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี นับเป็นนิมิตรหมายอันดีในการส่งเสริมสร้างสิทธิ มนุษยชนในพม่า การละเมิดสิทธิประชาชน 


ปัญหาการค้ามนุษย์ การกดขี่แรงงาน และการใช้แรงงานเด็ก 

ประชาคมอาเซียนมุ่งหวังจะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนด้อยโอกาส ส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสที่ดีให้แก่คนเหล่านี้ เพื่อลดปัญหาการค้ามนุษย์ในอาเซียนลง และเพื่อทำให้สิทธิมนุษยชนได้รับการเคารพและปฏิบัติอย่างจริงจังในทุกๆ ประเทศ ที่ผ่านมาประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีความร่วมมือกัน เช่น 
- การตั้งอนุกรรมการว่าด้วยปราบปรามการค้าเด็กและผู้หญิงในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อสร้าง ทัศนคติและการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรรค์ต่อประเด็นผู้อพยพโดยเฉพาะการให้ความคุ้มครอง สิทธิขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับกฎหมาย 
- มีการทำความตกลงร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อให้กลไกความร่วมมือ และส่งเสริมให้ เกิดความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ


กัมพูชา


ในรายงานปี ค.ศ.2007 ของผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติได้กล่าวถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาว่ามีการละเมิดที่ทำอย่างมีเจตนาและอย่างเป็นระบบ เพื่อที่รัฐบาลจะได้ครอบงำอำนาจไว้ เขายังชี้ให้เห็นการคอร์รัปชั่นอย่างโจ่งแจ้งกว้างขวาง และละเมิดระบบความยุติธรรมในประเทศซึ่งรวมอยู่ในกำมือของชนชั้นผู้ปกครอง ข้อตอบโต้ของฝ่ายรัฐบาลก็คือกล่าวหาว่า ตัวผู้แทนนั้น “โง่เง่า” และก่อกวนน่ารำคาญ เป็นพวกชอบสร้างปัญหาและชอบแต่จะเป็นพวกท่องเที่ยว และยังเรียกร้องให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง


ฟิลิปปินส์


หลังจากที่อาร์โรโยได้ล้มรัฐบาลของเอสตราด้าที่มาจากการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น โดยการกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่น โดยการนำประชาชนเดินขบวนเพื่อแสดงอำนาจและมีฝ่ายทหารคอยหนุนหลังคล้ายกับการทำปฏิวัติกลายๆ และได้รับการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2004 ซึ่งเธอจัดการเลือกตั้งชนิดที่มีการโกงการเลือกตั้ง และเอาเปรียบจนได้รับชัยชนะ รัฐบาลของเธอจึงมีปัญหาเรื่องความชอบธรรม จึงหวาดระแวง “อำนาจประชาชน” จะกลับมาเล่นงาน จึงต้องหันมาหาความสนับสนุนจากฝ่ายทหารเพื่อปกป้องเธอ ซึ่งด้วยวิธีง่ายๆจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน “เพื่อที่จะดำรงไว้ซึ่งสันติสุขของสาธารณชน ความสงบเรียบร้อย และความมั่นคง และเพื่อป้องกัน และจัดการกับการใช้ความรุนแรงอย่างไร้กฎหมาย”



นับตั้งแต่เธอได้รับการเลือกตั้ง คลื่นของฆาตกรรมนอกกฎหมายเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีผู้ถูกฆ่าล้างชีวิตมากกว่าผู้อพยพ ในจำนวนผู้เสียชีวิตเหล่านี้มีทั้งนักหนังสือพิมพ์ นักกิจกรรมสังคมประชาธรรม ผู้นำแรงงาน และนักการเมืองฝ่ายค้าน ผู้รายงานพิเศษของสภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติรายงานว่า ความรับผิดชอบจากการฆ่าล้างทำลายชีวิตเหล่านี้เกิดจากฝ่ายทหารทั้งสิ้น ซึ่งนี่ก็เป็นข้อสรุปโดยองค์กรประชาสังคม ด้านสิทธิมนุษยชนในยุโรป และในสหรัฐ แน่นอนว่าว่าฝ่ายทหารปฏิเสธข้อนี้ ทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐยอมรับว่า สายการบังคับบัญชาการฆ่าล้างงทำลายชีวิตเหล่านี้สาวไปถึงประธานาธิบดีนั่นเอง รัฐสภาครองเกรสขุ่นเคืองกับเรื่องนี้มาก เจ้าหน้าที่ของกระทรวงต่างประเทศที่ดูแลเรื่องนี้ ให้ปากคำกับคณะกรรมาธิการว่า “อาร์โรโยจะต้องหาทางยุติการข้องเกี่ยวใดๆกับการทำลายชีวิตโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัย” แต่ตอนท้ายปี ค.ศ.2007 ก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆที่จะเอาความรับผิดชอบกับเรื่องที่เป็นเบื้องหลังการฆ่าล้างทำลายชีวิตที่เกิดขึ้น



อินโดนีเซีย อาเซียน และ อีสติมอร์


กรณีของอีสติมอร์มักเป็นประเด็นเกาะติดอยู่กับความสัมพันธ์ในกรอบทวิภาคีของอินโดนีเซียอยู่เสมอ เรื่องนี้มีความสำคัญขึ้นมาใหม่หลังจากมีการฆาตกรรมหมู่ในเมืองดิลีในปี ค.ศ.1991 เมื่อกองทหารยิงกราดเข้าไปในขบวนงานศพจนมีผู้เสียชีวิตไปมากกว่าร้อยคน ทำให้ทั่วโลกเรียกร้องให้มีการลงโทษอินโดนีเซีย สถานการณ์ระหว่างประเทศสำหรับอินโดนีเซียเปลี่ยนไป หลังจากปี ค.ศ. 1999 เมื่อมีการลงประชามติของอีสติมอร์และกองทัพบกของอินโดนีเซียใช้ความรุนแรงขึ้นมากอีก


จากคำให้การของเจ้าหน้าที่ระกับอาวุโสของสหประชาชาติในอีสติมอร์ กล่าวว่าการทำลายล้างชีวิตมนุษย์และวัสดุต่างๆนั้น “เป็นการปฏิบัติการที่มีการวางแผนและปฏิบัติการภายใต้การชี้นำของกองทัพอินโดนีเซีย” การที่อาเซียนเพิกเฉยกับกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางรุนแรงในอีสติมอร์นั้นเป็นจุดเสี่ยงอยู่มากของความน่าเชื่อถือของอาเซียน ในฐานะที่ต้องถือว่าอาเซียนคือผู้ที่จะต้องดูแลรับใช้ด้านความมั่นคงและปลอดภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



มาเลเซีย

มาเลเซียเป็นเป้าหมายการโจมตีของกลุ่มนักกิจกรรมสิทธิมนุษยชนอยู่แล้วเนื่องจากการที่รัฐบาลนำเอาเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆมาใช้กับประชาชนของตน เช่น การลงโทษตามกฎหมายความมั่นคงภายในในการขับเคี่ยวกับนักการเมืองฝ่ายค้าน รัฐบาลเองไม่เคยสำนึกผิดต่อเรื่องนี้เลย ในบริบทของการเมืองในประเทศของมาเลเซียเองถูกเงื่อนไขทางประวัติสาสตร์กำหนดจากการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ความตึงเครียดเรื่องชาติพันธุ์และปัญหาท้าทายจากกลุ่มอิสลามดั้งเดิมที่ปะทะท้าทายผู้นำมุสลิมสายกลางที่ปกครองประเทศอยู่ ประชาธิปไตย แบบตะวันตกรวมถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนอื่นๆ ถูกมองว่าไม่เหมาะสมและมีศักยภาพในทางที่จะกระทบต่อความมั่นคงมาก นายกรัฐมนตรีมหาธีร์ เป็นนายกรัฐมนตรียืนยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นคนช่างพูดวิพากษ์วิจารณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนของตะวันตก โดยมองว่าเป็นรูปแบบของจักรวรรดินิยม การเมืองและวัฒนธรรม ที่กำหนดขึ้นเพื่อถ่วงการพัฒนาและความเสมอภาคของมาเลเซียนั่นเอง



เวียดนาม


เวียดนามมีพรรคการเมืองพรรคเดียวบริหารประเทศ ไม่ยินยอมให้มีการเมืองฝ่ายตรงข้ามและปฏิเสธเสรีขั้นพื้นฐาน ไม่ยอมให้มีกลุ่มสิทธิมนุษยชนในประเทศ หรือระดับนานชาติมาดำเนินการใดๆในประเทศ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2001  ประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพในเรื่องการนับถือศาสนาและสถานะของกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยกลายเป็นปัญหาร่วมที่ถูกตำหนิในประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ ไม่ใช่เพียงแต่ศาสนาคริสเตียน ลัทธิ Montagnard ที่เวียดนามพยายามกำหนดระเบียบวินัย การควบคุมทุกศาสนาก็ทำอย่างเข้มงวดมาก พรรคคอมมิวนิสต์ของเวียดนามเป็นพรรคที่ก่อตั้งไพร่พลให้อยู่ในกำกับขององค์การทางศาสนาที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการหกองค์กรด้วยกัน เพื่อให้แน่ใจว่าไพร่พลของพรรคจะดำเนินรอยตามนโยบายของพรรค และยอมเชื่อฟังด้วยดี


ทัศนะเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ในระดับภูมิภาค


แม้ทั้งที่ระบบเรื่องสิทธิที่สหประชาชาติกำหนดไว้นั้นจะกล่าวอ้างได้ว่าเป็นระบบสากล แต่ยังไม่มีทัศนะที่สอดคล้องกันในเรื่องสิทธิต่างๆที่เป็นทัศนะเดียวกันในระดับโลก หรือแม้แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

สำหรับชนชั้นปกครองระดับสูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนมาก มองว่าฝ่ายตะวันตกนั้นจะเน้นในเรื่องความเป็นสังคมประชาธรรม และสิทธิทางการเมืองในกรอบของความเป็นประชาธิปไตยว่าเป็นการแสดงออกถึงกระบวนการทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมในสังคมที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว 


แนวทัศนะของบรรดาผู้นำในอาเซียนมองว่าฝ่ายตะวันตกมองแต่เรื่องสิทธิเสรีภาพเพียงด้านเดียว โดยไม่คำนึงถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ  สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งก็ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตระหนักอย่างสมบูรณ์ต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความสำเร็จของปัจเจกชน 

ทัศนะสุดโต่งยิ่งไปกว่านั้นก็คือการมองฝ่ายตะวันตกรณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชน คล้ายกับลัทธิอาณานิคมใหม่ด้านการเมือง และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการกำหนดเงื่อนไขใช้กับการค้าและความช่วยเหลือที่นำมาเป็นฐานของการตัดสินเรื่องสิทธิมนุษยชน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น