วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

THE ASEAN CHARTER โครงสร้างองค์กรและกลไกการดำเนินงานของอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)

เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียน โดยประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ
แต่ละประเทศอาเซียนต่างร่วมกันจัดทำกฎบัตรนี้ขึ้นเพื่อให้มีผลใช้บังคับภายในภูมิภาค ซึ่งในกฎบัตรดังกล่าวนี้ได้ประมวลบรรทัดฐาน กฎเกณฑ์ คุณค่าและเป้าหมายที่ชัดเจนของ อาเซียนเอาไว้เข้าด้วยกัน
ภาคีสมาชิกได้ร่วมลงนามในกฎบัตรอาเซียนในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 และได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551


องค์กรภายใต้กฎบัตรอาเซียน หมวดที่ 4


กล่าวถึงองค์กรต่างๆในอาเซียนว่ามีส่วนใดบ้างและมีการดำเนินงานอย่างไร 
    เนื้อหาในหมวดที่สี่ของกฎบัตรอาเซียนประกอบด้วย 

- ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน         - คณะมนตรีประสานงานอาเซียน




- คณะมนตรีประชาคมอาเซียน         - องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
  - เลขาธิการอาเซียนและสำนักงานเลขาธิการอาเซียน 
- คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน - สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ 

- องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน - มูลนิธิอาเซียน

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN summit)


  • ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนจะประกอบด้วยประมุขของรัฐสมาชิก หรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิก 
  • ทำหน้าที่เป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบายของอาเซียน โดยทำหน้าที่พิจารณาหารือ ให้แนวนโยบาย และตัดสินใจในประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุวัตถุประสงค์ของอาเซียน ในเรื่องสำคัญที่เป็นผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก 
  • มีหน้าที่ในการสั่งการให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในแต่ละคณะมนตรีที่เกี่ยวข้องให้จัดการประชุมเฉพาะกิจระหว่างรัฐมนตรี และหารือประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับอาเซียน
  • อนุมัติการจัดตั้งและการยุบองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขาและสถาบันอื่นๆ ของอาเซียน และแต่งตั้งเลขาธิการอาเซียน 
  • จัดประชุมสองครั้งต่อปี โดยให้รัฐสมาชิกซึ่งเป็นประธานอาเซียนเป็นเจ้าภาพ และ เรียกประชุมเมื่อมีความจำเป็น



คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Councils: ACC)


ให้คณะมนตรีประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และประชุมกันอย่างน้อยสองครั้งต่อปี และมีหน้าที่


  • เตรียมการประชุมของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน 
  • ประสานการดำเนินความตกลงและข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน 
  • ประสานงานกับคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่างๆ เพื่อเพิ่มความสอดคล้องกันของ นโยบาย ประสิทธิภาพ และความร่วมมือระหว่างกัน
  • ประสานการเสนอรายงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน ต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
  • พิจารณารายงานประจำปีของเลขาธิการอาเซียนเกี่ยวกับงานของอาเซียน
  • พิจารณารายงานของเลขาธิการอาเซียนเกี่ยวกับหน้าที่และการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการอาเซียนและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • เห็นชอบการแต่งตั้งและการพ้นจากหน้าที่ของรองเลขาธิการอาเซียน ตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการอาเซียน 
  • ปฏิบัติภารกิจอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตร


คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Councils)

คณะมนตรีประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 

  • คณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 
  • คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 
  • คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 

องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectorial ministerial Bodies) 

ประกอบด้วยองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาต่างๆ เช่น สาธารณสุข กลาโหม การศึกษา และอื่นๆ ประกอบด้วยรัฐมนตรีเฉพาะสาขา มีการปฏิบัติตามหน้าที่ ดังนี้


  • ดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรที่มีอยู่
  • อนุวัตความตกลงและข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่อยู่ในขอบข่ายการดำเนินงานของแต่ละองค์กร
  • เสริมสร้างความร่วมมือในสาขาของแต่ละองค์กรให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียนและการสร้างประชาคมอาเซียน
  • เสนอรายงานและข้อเสนอแนะต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียนของแต่ละองค์กร
เลขาธิการอาเซียนและสำนักงานเลขาธิการอาเซียน 
(Secretary-General of ASEAN and ASEAN secretariat)


  • สำนักงานเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศอาเซียนในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2519 
  • ทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆของสมาคม อาเซียน เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการตลอดจน สถาบันต่างๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียน 
  • การเลือกบุคคลมาเป็นเลขาธิการอาเซียนจะทำโดยการได้รับการแต่งตั้งโดยที่ประชุมสุดยอด อาเซียน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งห้าปี และไม่สามารถต่ออายุได้ 
  • ได้รับการเลือกจากรัฐสมาชิกอาเซียน บนพื้นฐานของการหมุนเวียนตามลำดับตัวอักษร
    Name
    Time
    Country
    Hartono Dharsono
    7 June 1976 – 18 February 1978
    Indonesia
    Umarjadi Notowijono
    19 February 1978 – 30 June 1978
    Indonesia
    Ali Abdullah
    10 July 1978 – 30 June 1980
    Malaysia
    Narciso G. Reyes
    1 July 1980 – 1 July 1982
    Philippines
    Chan Kai Yau
    18 July 1982 – 15 July 1984
    Singapore
    Phan Wannamethee
    16 July 1984 – 15 July 1986
    Thailand
    Roderick Yong
    16 July 1986 – 16 July 1989
    Brunei
    Rusli Noor
    17 July 1989 – 1 January 1993
    Indonesia
    Ajit Singh
    1 January 1993 – 31 December 1997
    Malaysia
    Rodolfo Severino Jr.
    1 January 1998 – 31 December 2002
    Philippines
    Ong Keng Yong
    1 January 2003 – 31 December 2007
    Singapore
    Surin Pitsuwan
    1 January 2008 – 31 December 2012
    Thailand

    Lê Lương Minh
    1 January 2013 – 31 December 2017
    Vietnam
หน้าที่ของเลขาธิการอาเซียน


  • ปฏิบัติหน้าที่ และ ความรับผิดชอบตามบทบัญญัติของกฎบัตร ตราสาร พิธีสารต่างๆ ตลอดจนแนวปฏิบัติของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง
  • อำนวยความสะดวก และสอดส่องดูแลความคืบหน้าให้เป็นไปตามข้อตกลง และข้อตัดสินใจของอาเซียน รวมทั้งเสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับงานของอาเซียนต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
  • เข้าร่วมในการประชุมต่างๆ ของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน คณะมนตรีประชาคมอาเซียน คณะมนตรีประสานงานอาเซียน และองค์กรระดับรัฐมนตรีของอาเซียนเฉพาะสาขา และการประชุมอาเซียนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • เสนอข้อคิดเห็นในวาระต่างๆ ของอาเซียน และ เข้าร่วมการประชุมกับภาคีภายนอกตามแนวนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบและตามอำนาจหน้าที่ที่เลขาธิการอาเซียนได้รับมอบหมาย และยังทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของอาเซียนด้วย


คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน 
(Committee of Permanent Representatives to ASEAN: CPR)


คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนมาจากการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศแต่งตั้งผู้แทนถาวรประจำอาเซียน 1 คน เป็นผู้แทนประจำที่สำนักงานใหญ่อาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีหน้าที่



  • สนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนและองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
  • ประสานงานกับสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ และองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาอื่นๆ
  • ติดต่อประสานงานกับเลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียนในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับงานของตน
  • อำนวยความสะดวกในส่วนของความร่วมมือของอาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอก และ
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่อาจกำหนดโดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียน

สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ หรือ กรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้


  • เป็นผู้ประสานงานกลางแห่งชาติ
  • เป็นผู้เก็บรักษาข้อสนเทศในเรื่องทั้งปวงเกี่ยวกับอาเซียน
  • ประสานงานระดับชาติเกี่ยวกับการดำเนินตามข้อตกลงของอาเซียน
  • ประสานงานและสนับสนุนการเตรียมการระดับชาติในการประชุมอาเซียน
  • ส่งเสริมอัตลักษณ์และความสำนึกเกี่ยวกับอาเซียนในระดับชาติ
  • มีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียน
  • สนับสนุนภารกิจและความร่วมมือต่างๆเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศสมาชิกนั้นๆ สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ

องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Body)

เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งขึ้นโดยความมุ่งประสงค์หลักการของกฎบัตรอาเซียนเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน 
มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามข้อกำหนดของที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของอาเซียน 

มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation)

มูลนิธิอาเซียนมีหน้าที่ ดังนี้

1). สนับสนุนเลขาธิการอาเซียน และดำเนินความร่วมมือกับองค์กรของอาเซียนที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียน 

2).ดำเนินการร่วมกันที่ใกล้ชิดระหว่างภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบต่อเลขาธิการอาเซียน ซึ่งต้องเสนอรายงานของมูลนิธิฯต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนผ่านคณะมนตรีประสานงานอาเซียน

หมวดที่ 5 องคภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน


องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน คือ รัฐสภา องค์กรภาคธุรกิจ สถาบันวิชาการ และองค์กรภาคประชาสังคม


1.อาเซียนจะความสัมพันธ์กับองคภาวะซึ่งสนับสนุนกฎบัตรอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การที่มีจุดประสงค์เดียวกับหลักการของอาเซียน

2. คณะกรรมการผู้แทนถาวรมีหน้าที่บัญญัติกฎการดำเนินงานและหลักเกณฑ์สำหรับการมีความสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการอาเซียน

3. องคภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียนอาจได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยโดย
      เลขาธิการอาเซียนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้แทนถาวร โดยไม่ต้องใช้   
      บทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขของกฎบัตรอาเซียน


กลไกอาเซียน : สิทธิมนุษยชน

“สิทธิมนุษยชน” หมายถึง สิทธิที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอน หรือ แจกให้กับผู้หนึ่งผู้ใดได้

สิทธิดังกล่าวนี้มีความเป็นสากลและความเป็นนิรันดรจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งยกร่างโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (Committee on Human Rights) ภายใต้องค์การสหประชาชาติเพื่อเป็นกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน 

สหประชาชาติได้มีมติรับรองเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทุกฉบับ ได้รับการพัฒนาและมาจากปฏิญญาสากลฉบับนี้ทั้งสิ้น และกลายเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนากฎหมายภายในประเทศของประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศ


ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Declaration on Human Rights) 

  • เป็นเอกสารสำคัญฉบับแรกที่ระบุถึงการคุ้มครองและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • เป็นแม่แบบสำหรับสร้างแผนงานและนโยบายเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ถือเป็นก้าวสำคัญเพราะมีระบุในกฎบัตรอาเซียน ภายใต้แผนงาน "เสาการเมืองและความมั่นคง" (Asean Socio-Cultural Community : ASCC) 
  • มีการลงนามรับรองปฏิญญานี้ในการประชุม สุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๒๑ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา 
  • เป็นหลักไมล์สำคัญที่แสดงให้เห็นความก้าวหน้าของภูมิภาคอาเซียน 
  • ใช้เพื่อเฝ้าสังเกตมาตรการปฏิบัติ มาตรการป้องกัน มาตรการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของกลุ่มประเทศอาเซียน
  • ไม่มีมาตรการปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เพียงพอ (แต่ละประเทศมีข้ออ้างในการละเลยมากกว่าที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน)  
  • มาตรา ๘ ของ ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน ระบุว่า การใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานจะถูกจำกัดก็ด้วยกฎหมายเท่านั้น ในวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้อื่น



2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ28 มกราคม 2565 เวลา 12:41

    Online Casinos With Slots with a Review - ChoEcasino
    Online casino games such 카지노 as 인카지노 Roulette, Blackjack, Slots and Roulette are all developed on HTML5 technology. Online casino games are 1xbet very popular, and

    ตอบลบ
  2. Bet on sports at Twin River Casino
    Bet on sports at 김천 출장마사지 Twin 나주 출장마사지 River Casino in Twin River. Our 안성 출장마사지 sportsbook 천안 출장안마 offers top live betting action, including spreads and moneyline bets. 강원도 출장마사지 The Bet

    ตอบลบ